Home > AEC

ลาล่ามูฟ ประเทศไทย เผยผลการดำเนินงานในปี 2562

ลาล่ามูฟ โต 123% ขึ้นแท่นผู้บริการขนส่งสินค้าอันดับหนึ่งพร้อมพัฒนาแพลทฟอร์ม สร้างเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจในโลกดิจิตอล รองรับการขยายตัวของธุรกิจขนส่งสินค้าอย่างครบวงจร ลาล่ามูฟ ประเทศไทย (Lalamove Thailand) ผู้ให้บริการแอพพลิเคชั่นขนส่งสินค้าแบบ On-demand Delivery เผยผลประกอบการปี 2561 เติบโต 123% ขึ้นแท่นผู้บริการขนส่งสินค้าอันดับหนึ่ง ด้วยมูลค่าการทำธุรกรรมรวมกว่า 1,200 ล้านบาท เล็งขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่องในปี 2562 เพิ่มไซส์รถขนส่งสินค้า รุกพื้นที่ทุกภูมิภาคทั่วไทย พร้อมพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ตอบโจทย์การบริการครบวงจร นายชานนท์ กล้าหาญ กรรมการผู้จัดการ ลาล่ามูฟ ประเทศไทย เปิดเผยว่า “ในปี 2561 ที่ผ่านมา ลาล่ามูฟ ประเทศไทย ประสบความสำเร็จอย่างมาก โดยเปรียบเทียบจากอัตราการเติบโตของมูลค่าการทำธุรกรรม (Transaction Value) ใน 4 ปีที่ผ่านมา (2558 - 2561) เริ่มจากในปี 2558 - 2559

Read More

ท่องเที่ยวเขมรฉุดไม่อยู่ รุดขยายสนามบินรองรับเพิ่ม

 ธุรกิจการท่องเที่ยวในกัมพูชายังคงเติบโตและทวีบทบาทสำคัญในการดึงดูดเงินตราจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศต่อเนื่อง ขณะที่ผลพวงจากประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC กำลังหนุนเสริมให้รัฐบาลกัมพูชาประกาศเป้าหมายเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวและลงทุนสร้างสาธารณูปโภครองรับการขยายตัวนี้ แนวโน้มดังกล่าวเป็นปรากฏการณ์ที่ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่กัมพูชาพัฒนาศักยภาพของสนามบินนานาชาติจังหวัดเสียมเรียบเมื่อปี 2006 เพื่อให้สามารถรองรับกับจำนวนและขนาดของเครื่องบินที่บินตรงจากทุกสารทิศเข้าสู่จุดหมายปลายทางเพื่อการเยี่ยมชมสถานที่มรดกโลกในเสียมเรียบ ซึ่งมี นครวัด และนครธม เป็นจุดหมายสำคัญ สถิติของสนามบินนานาชาติเสียมเรียบระบุว่า ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าสู่เสียบเรียบทางเครื่องบินเพิ่มมากขึ้นถึงกว่า 300% คือเพิ่มจากระดับ 551,000 คนในปี 2003 มาสู่ระดับ 1.7 ล้านคนในปี 2012  ขณะที่จำนวนนักท่องเที่ยวในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2012 มีนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศเดินทางเข้าสู่กัมพูชารวมกว่า 2.57 ล้านคนเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าถึง 24% และทำให้ยอดรวมนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศตลอดทั้งปี เพิ่มขึ้นจาก 2.88 ล้านคนในปี 2011 มาอยู่ที่ระดับ 3.3-3.5 ล้านคนในปี 2012 ซึ่งประมาณการว่าจะสามารถสร้างงานและรายได้ให้กับกัมพูชารวมมูลค่ามากกว่า 2 พันล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 6 หมื่นล้านบาทด้วย ประเด็นที่น่าสนใจส่วนหนึ่งอยู่ที่จำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มมากขึ้นนี้ นักท่องเที่ยวจากเวียดนามกลายเป็น กลุ่มลูกค้ากลุ่มใหญ่ด้วยจำนวนมากถึง 5.8 แสนคนเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าถึงร้อยละ 25

Read More

ธุรกิจน้ำมันรุกแนวรบอาเซียน บิ๊กสเต็ป ปูพรมสร้างแบรนด์

หลังจาก 2 ค่ายน้ำมันยักษ์ใหญ่ของไทยปักธงเปิดสถานีบริการน้ำมันรูปแบบใหม่ในอาเซียนเมื่อปลายปี 2555  เพื่อขยายแนวรบรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) โดยบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ลงทุนผุดปั๊ม Platinum ตามแนวคิด PTT Life Station ที่มีบริการครบวงจรแห่งแรกในกรุงเวียงจันทน์ สปป. ลาว ไม่ว่าจะเป็นศูนย์บริการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง ศูนย์บริการล้างอัดฉีดและตรวจเช็กระบบแอร์รถ  ร้านกาแฟคาเฟ่อเมซอน ร้านค้าแบรนด์ท้องถิ่น ร้านสะดวกซื้อและบริการด้านการเงิน  ขณะที่บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) จับมือกับคู่ค้าในพม่า รีแบรนดิ้งเปิดปั๊มบางจากในจังหวัดเมียวดีเป็นแห่งแรก  ปี 2556 ต้องถือเป็น “Big Step”  ในการเปิดเกมรุกขยายสาขาชนิดปูพรมเพื่อสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จัก โดยเฉพาะ ปตท. กำลังพยายามมุ่งสู่เป้าหมายการเป็นแบรนด์อันดับหนึ่งในภูมิภาคอาเซียนเร็วกว่ากำหนดที่ตั้งไว้ในปี ค.ศ. 2020 หรืออีก 7 ปีข้างหน้า ทั้งนี้ ปตท. วางแผน  5 ปีแรกขยายสถานีบริการน้ำมันในต่างประเทศ รวมทั้งสิ้นไม่ต่ำกว่า  270 แห่ง งบลงทุน

Read More

ชัยชนะของ ชินโซ อาเบะ และการกลับมาของ “ความเป็นญี่ปุ่น”

ชัยชนะอย่างท่วมท้นของพรรคเสรีนิยมประชาธิปไตย หรือ LDP (Liberal Democratic Party) จากผลการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2555 ที่ผ่านมา ซึ่งทำให้พรรค LDP มีที่นั่งในสภาญี่ปุ่นมากถึง 294 ที่นั่งจากจำนวนรวม 480 ที่นั่ง ซึ่งเมื่อผนวกกับพันธมิตรจากพรรคนิว โคเมะโตะ (New Komeito) ที่ได้รับเลือกอีก 31 ที่นั่ง ก็หมายความว่าพรรครัฐบาลใหม่ของญี่ปุ่น ภายใต้การนำของชินโซ อาเบะ (Shinzo Abe) จะมีจำนวนเสียงมากถึง 325 ที่นั่ง ซึ่งเกินกว่า 2 ใน 3 ที่เป็นสัดส่วนสำคัญในการผลักดันกฎหมายและนโยบายในอนาคตได้อย่างสะดวกด้วย ผลการเลือกตั้งของญี่ปุ่นที่ผ่านมา ในด้านหนึ่งสะท้อนความคิดและความหวังที่ชาวญี่ปุ่นปรารถนาจะให้รัฐนาวาลำใหม่ของชินโซ อาเบะ ต่อสู้กับภาวะเศรษฐกิจถดถอยซึ่งเรื้อรังต่อเนื่องมานานนับทศวรรษ โดยชินโซ อาเบะ ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ระหว่างกันยายน 2549-กันยายน 2550 มาแล้วหนึ่งครั้ง ประกาศตลอดการรณรงค์หาเสียงในปี 2555 ว่า

Read More

ทวาย: นัยความหมายทางยุทธศาสตร์

การเดินทางเยือนเมียนมาร์ ของนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ภายใต้ภารกิจสำคัญว่าด้วยการเยี่ยมชมความคืบหน้าของโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย กลายเป็นประเด็นที่ถูกหยิบยกขึ้นมาถกเถียงและตั้งข้อสังเกตอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประพฤติกรรมที่ทำให้หลายฝ่ายเคลือบแคลงสงสัยเกี่ยวกับความเหมาะสมและประเด็นว่าด้วยผลประโยชน์ทับซ้อนที่พร้อมจะเป็นไปเพื่อสร้างความมั่งคั่งเฟื่องฟูให้กับเครือข่าย สิ่งหนึ่งที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ควรจะต้องถูกวิพากษ์วิจารณ์ และควรตระหนักจากปรากฏการณ์ดังกล่าว ในด้านหนึ่งอยู่ที่ความด้อยประสิทธิภาพในงานสารนิเทศ ที่ไม่สามารถสื่อสารทำความเข้าใจกับประชาชน หรือแม้แต่ฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้อย่างชัดเจนว่า รัฐบาลมีแนวทางและกำหนดบทบาทในเชิงยุทธศาสตร์ในเรื่องนี้ไว้อย่างไร โครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายอาจเป็นโครงการที่มีความสืบเนื่องมาจากฐานรากที่บริษัทเอกชนไทย ได้รับสัมปทานในการพัฒนาพื้นที่ ก่อสร้าง และหาแหล่งทุน ที่มีลำดับขั้นและพัฒนาการมาตั้งแต่เมื่อช่วงกลางปี 2551 ก่อนที่จะมีการลงนามในข้อตกลงเรื่องสิทธิในการพัฒนาและดำเนินการบริหารโครงการทวายตามระยะเวลาการเช่าที่ดิน เป็นเวลามากกว่า 75 ปี ในช่วงปลายปี 2553 หากประเมินในมิติที่ว่านี้ โครงการดังกล่าวย่อมเป็นเพียงเรื่องราวความเป็นไประหว่างเอกชนไทยรายหนึ่ง ที่ได้เข้าไปเป็นคู่สัญญากับรัฐบาลแห่งเมียนมาร์ โดยที่เอกชนรายที่ว่าก็คงอยู่ในตำแหน่งและบทบาท ไม่แตกต่างจาก “นายหน้าที่วิ่งเร่ขายโครงการ” ให้กับผู้ร่วมทุนหรือผู้ประกอบการรายอื่นๆ ประเด็นที่น่าสนใจประการหนึ่งก็คือ ในห้วงที่พรรคประชาธิปัตย์ยังเรืองอำนาจในฐานะรัฐบาล ก็เคยวาดหวังจะให้โครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายเป็นจักรกลในการผลิตสร้างเมกะโปรเจกต์ โดยอลงกรณ์ พลบุตร ซึ่งในขณะนั้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เคยประกาศบนเวทีปาฐกถาเรื่อง “GMS ในทศวรรษใหม่” ที่ จ. เชียงราย เมื่อต้นปี 2553 ว่า จะผลักดันท่าเรือน้ำลึกทวาย เป็นส่วนหนึ่งในอภิมหาโครงการเชื่อมตะวันออก-ตะวันตกที่สำคัญและใหญ่ที่สุดในอาเซียน ภายใต้ความร่วมมือไทย-เมียนมาร์ แต่ความเป็นไปและคืบหน้าของโครงการพัฒนาดังกล่าวกลับขึ้นสู่กระแสสูงในช่วงกลางปี 2555

Read More

การศึกษาไทยและ AEC 2015

ผมได้พูดถึงการศึกษาในประเทศภูฏาน จึงขออนุญาตแทรกเรื่องการศึกษาแบบไทยๆ  เนื่องจากเราเองก็กำลังจะเข้าสู่การเปิดตลาดเสรีของประชาคมอาเซียนอย่างเต็มรูปแบบในอีก2ปีกว่า เนื่องจากไทยเป็นประเทศชั้นนำในอาเซียน เราต้องหันมาถามตัวเองว่าเราจะ Position การศึกษาของประเทศไทยในมิติไหน  เพราะประเทศเล็กๆ อย่างภูฎานยังสร้าง Education City เพื่อเป็นศูนย์กลางด้านการศึกษาของภูมิภาคผมจะพูดถึงจุดแข็งและจุดอ่อนของประเทศไทยในการเป็นศูนย์กลางด้านการศึกษาของอาเซียน แม้เราจะไม่ได้มีประชากรครึ่งโลกอย่างที่ท่านนายกรัฐมนตรีเชื่อมั่น แต่ถ้ารวมประชากรของ ASEAN +3 หรือ ASEAN +6 ผมเชื่อว่าอาจจะเกินครึ่งโลกเสียด้วยซ้ำ  ดังนั้นเราต้องถามว่าประเทศไทยอยู่ตรงไหนในอาเซียน และถ้าบวก3 หรือ บวก 6 ประเทศภาคีแล้วไทยยืนอยู่ตรงไหน หรือมีที่ยืนหรือไม่เนื่องจากผมเองก็เป็นนักการศึกษาคนหนึ่ง  จึงให้ความสนใจในเรื่องการศึกษาค่อนข้างมาก โดยผมได้เล่าว่าการศึกษาคือสินค้าส่งออกในต่างประเทศ  และได้พูดถึงการศึกษาไทยและความเป็นนานาชาติ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เราไม่สามารถเถียงได้อีกต่อไปว่า  “การศึกษาไทยมีไว้แค่คนไทยเท่านั้น”  แบบในอดีตที่เราพูดกัน เพราะถ้าประเทศไหนยังคิดแบบนี้ก็คงต้องเข้าเกียร์ถอยหลังเข้าคลองไปได้เลย  เพราะแนวคิดที่ว่าการศึกษาคือวิทยาทานนั้นอาจจะเป็นจริงในยุคโบราณจนมาสิ้นสุดในสมัยสงครามเย็นที่มีโคลัมโบแพลน หรือทุนอีสต์เวสต์ ในยุคนั้นเราได้ยินชื่อทุนมากมาย และที่คนไทยรู้จักมากที่สุดคือ ทุนนักเรียนแลกเปลี่ยน AFS ซึ่งรูปแบบของ AFS ในวันนี้ก็แตกต่างจากเมื่อ 20 ปีก่อนไปมากแล้ว ทุกวันนี้การศึกษาในประเทศที่พัฒนาแล้วได้ปรับตัวให้เข้ากับโลกที่เปลี่ยนแปลงโดยมีการบูรณาการทั้งจากวงการศึกษาและระบบราชการเพื่อความเหมาะสมถ้ามองตามหลักการพัฒนาประเทศโดย Rostow สามารถแบ่ง Product ได้ใน5

Read More

สัมพันธ์ฉัน “พี่-น้อง” ระหว่างเวียดนาม-ลาว

 ความสัมพันธ์ระหว่างเวียดนามกับลาวลึกซึ้งขนาดไหนดูได้จากเนื้อหาที่แกนนำของทั้ง 2 ประเทศนำมาแลกเปลี่ยนกัน ระหว่างการผลัดกันเยือน เนื่องในโอกาสครบรอบ 35 ปี วันลงนามสนธิสัญญามิตรภาพความร่วมมือ และครบรอบ 50 ปี วันสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตวันที่ 17 กรกฎาคมที่ผ่านมา เล โห่ง อาญ สมาชิกกรมการเมือง/ประจำคณะกรรมการเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม นำคณะผู้แทนระดับสูงของพรรคและรัฐบาลเวียดนาม ไปเยือน สปป.ลาวอย่างเป็นทางการตามคำเชิญของพรรคประชาชนปฏิวัติลาวและรัฐบาล สปป.ลาว รวมทั้งได้เข้าร่วมงานชุมนุมรำลึกวันลงนามสนธิสัญญามิตรภาพความร่วมมือ ครบรอบ 35 ปี และวันสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตเวียดนาม-ลาว ครบรอบ 50 ปีผู้ร่วมเดินทางมีหว่าง บิ่ญ เกวิน กรรมการกลางพรรค/หัวหน้าคณะกรรมการ ต่างประเทศกลางด่าว เหวียต ตรุง กรรมการกลางพรรค/ผู้อำนวยการสำนักงานประธานประเทศหว่าง เตวิ๊น อาญ กรรมการกลางพรรค/รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยวหวู ตร่อง กิม กรรมการกลางพรรค/รองประธานและเลขาธิการคณะกรรมการกลางแนวร่วมปิตุภูมิเวียดนาม/ประธานสมาคมมิตรภาพเวียดนาม-ลาว และยังเป็นเอกอัครราชทูตเวียดนามประจำ สปป.ลาวทันทีที่ไปถึงกรุงเวียงจันทน์ เล โห่ง อาญได้เข้าพบกับทองสิง ทำมะวง นายกรัฐมนตรี สปป.ลาว ที่สำนักงานรัฐบาลลาวนายกรัฐมนตรีทองสิงแสดงความยินดีที่เล

Read More

เสริมสร้างการลงทุนระหว่างกัน

 ก่อนหน้าการผลัดกันเยือนของแกนนำประเทศ ทั้งลาวและเวียดนามเพียงวันเดียว ที่นครโฮจิมินห์ของเวียดนามมีการประชุมสัมมนาส่งเสริมการค้า-การลงทุนเข้าเวียงจันทน์และจำปาสัก เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์การค้า-การลงทุนระหว่างเวียดนามและลาว โดยมีพื้นที่เป้าหมายอยู่ในนครโฮจิมินห์ของเวียดนาม นครหลวงเวียงจันทน์และแขวงจำปาสักของลาวผู้เข้าประชุมมีรองนายกรัฐมนตรี สปป.ลาว ทองลุน สีสุลิด และเลขาธิการคณะพรรคนครโฮจิมินห์ เล ทาญ หาย พร้อมด้วยแกนนำท้องถิ่น และนักธุรกิจของทั้งสองประเทศกว่า 150 คนที่ประชุมบรรดานักธุรกิจได้รับการจัดหาข่าวสารที่ทันสมัยเกี่ยวกับนโยบายเพื่อให้เกิดความมั่นใจการพัฒนาเศรษฐกิจโดยภาพรวมของเวียดนาม-ลาว และในนครโฮจิมินห์ เวียงจันทน์ และแขวงจำปาสัก ในปีต่อๆ ไปบนรากฐานความสัมพันธ์การเมืองที่ดีงาม เวียดนามและลาวไม่หยุดเสริมสร้างความร่วมมือในช่วงเวลาปัจจุบัน ในนั้นเศรษฐกิจเป็นขอบเขตหนึ่งที่เต็มไปด้วยศักยภาพด้านการค้า ตัวเลขการค้าของทั้งสองฝ่ายในปี 2554 มีมูลค่ารวม 734 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 49.8% จากปี 2553 และในไตรมาสแรกปีนี้มูลค่า 135.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 66.6% จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว สองประเทศต่างวางเป้าหมายทำให้การค้าทวิภาคีบรรลุ 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปีนี้ บรรลุ 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2558 และ 5,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2563ด้านการลงทุน

Read More

กิจกรรมที่จัดไม่เพียงภายในประเทศ

 ในโอกาสรำลึกวันสถาปนาความสัมพันธ์การทูตครบรอบ 50 ปี และวันลงนามสนธิสัญญามิตรภาพความร่วมมือเวียดนาม-ลาวครบรอบ 35 ปี วันที่ 20 กรกฎาคม 2555 สถานเอกอัครราชทูตเวียดนามประจำไทย จัดพบปะ แลกเปลี่ยนความสัมพันธ์มิตรภาพระหว่างเจ้าหน้าที่และพนักงาน สถานเอกอัครราชทูต และหน่วยงานประจำสถานเอกอัครราชทูตสองประเทศ เวียดนาม-ลาวประจำไทยสุนทรพจน์ในงานพบปะเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มเวียดนามประจำไทย โง ดึ๊ก ทั้ง กล่าวว่าเวียดนามและลาวเป็นสองประเทศพี่น้อง มีความสัมพันธ์มิตรภาพประเพณีเป็นพิเศษ ในภารกิจการทูตประจำประเทศที่ตั้งสำนักงาน สถานเอกอัครราชทูตเวียดนามและลาวสงวนความร่วมมือมิตรภาพจริงใจให้กันและกันเสมอปีนี้เป็นปีมิตรภาพเวียดนาม-ลาว ดังนั้นทั้งสองฝ่ายต่างเสริมสร้างกิจกรรมประสานงานจัดกิจกรรมวัฒนธรรมหลายครั้ง มุ่งเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจระหว่างเจ้าหน้าที่ พนักงานสถานเอกอัครราชทูตสองประเทศเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่ง สปป.ลาว ประจำไทย ลี บุนคำกล่าวว่า สถานเอกอัครราชทูตสองประเทศในไทยมีประเพณีช่วยเหลือซึ่งกันและกัน นี่เป็นประเพณีของสองประเทศ“อยู่ที่นี่พวกเราก็สงวนความร่วมมืออันมีค่าสูงยิ่งนั้นไว้เสมอ โดยเฉพาะปีนี้เป็นปีที่สองประเทศรำลึกสองเหตุการณ์ใหญ่ด้วย”ในช่วงค่ำสถานเอกอัครราชทูตเวียดนามประจำไทยได้เปิดงานเลี้ยงรับรองเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตลาว หลังงานเลี้ยงเป็นส่วนงานแสดงแลกเปลี่ยนศิลปะ ซึ่งจัดขึ้นในบริเวณสถานเอก อัครราชทูตเวียดนามประจำไทย เจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตเวียดนาม-ลาวทั้งหมด เคียงข้างกันร้องเพลงมิตรภาพ-สามัคคี ความเป็นมิตรเสมอต้นเสมอปลายเวียดนาม-ลาว ไม่ว่าอยู่ที่ใด ยังคงเป็นความสามัคคีพิเศษและไม่มีวันจืดจางไป

Read More

วีเพ็ด สีหาจักร Lifestyle Setter ของลาว

 ทรู คอฟฟี่ เดอะ พิซซ่า สเวนเซ่นส์ ล้วนเป็นสิ่งใหม่ที่ปรากฏขึ้นในลาวไม่กี่ปีมานี้ วีเพ็ด สีหาจักร คือผู้อยู่เบื้องหลังการเข้ามาของแฟรนไชส์เหล่านี้แต่ก็มิใช่แค่ร้านเหล่านี้เท่านั้นที่เขานำเข้ามา ความภาคภูมิใจในความสำเร็จของนักฟุตบอลทีมชาติจนทำให้กีฬาฟุตบอลเป็นส่วนหนึ่งในวิถีชีวิตของคนลาวในทุกวันนี้ เป็นวิถีใหม่ที่เขามีส่วนสำคัญผลักดันให้เกิดขึ้นบรรยากาศแห่งความยินดี งานเฉลิมฉลองที่จัดขึ้นทั่วนครหลวงเวียงจันทน์ หลังจากทีมฟุตบอลชาติลาวสามารถเข้ารอบลึกถึงรอบตัดเชือกกับทีมชาติมาเลเซียในการแข่งขันฟุตบอลซีเกมส์ เมื่อปลายปี 2552 ที่ สปป.ลาวเป็นเจ้าภาพ อาจถือเป็นจุดเริ่มต้นประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของวงการฟุตบอลลาว รวมถึงกระตุ้นความนิยมในกีฬาฟุตบอลของคนลาวให้เพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ“ตอนนี้กีฬาที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับ 1 ของคนลาว ก็คือฟุตบอล การแสดงถึงความรักองค์กร หรือกระชับมิตรกันระหว่างองค์กร ส่วนใหญ่คือชวนกันเตะบอล เพราะฉะนั้นสนาม ฟุตบอลที่เปิดให้เช่ามีคิวจองเต็มเกือบทุกวัน” ชาวเวียงจันทน์หลายคนยืนยันในทิศทางเดียวกันกับคำพูดข้างต้นในความเป็นจริงคนลาวมิใช่เพิ่งจะมานิยมกีฬาฟุตบอล หลังจากที่ สปป.ลาวเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์เมื่อเกือบ 3 ปีที่แล้วเท่านั้นความนิยมในกีฬาฟุตบอลของคนลาวมีอย่างต่อเนื่องมานานแล้ว และค่อยๆ มีพัฒนาการขึ้นมา เป็นลำดับลำเนา สิงโต ถือเป็นตัวอย่างของนักฟุตบอลชาวลาว ที่ยืนยันถึงพัฒนาการของวงการฟุตบอลลาวได้เป็นอย่างดี“ลำเนา สิงโต เกิดเมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ.2531 เป็นชาวเมืองหลวงพระบาง ประเทศลาว เริ่มเล่นฟุตบอลในระดับสโมสรกับทีมกระทรวงโยธาธิการและขนส่ง ซึ่งเป็นทีมสโมสรของรัฐบาลลาว ย้ายมาเล่นฟุตบอลในประเทศไทยในดิวิชั่น 2 ฤดูกาล 2550 กับทีมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แต่ผลงานของทีมไม่ดีนักเมื่อได้อันดับ สุดท้ายของตารางและตกชั้นเมื่อจบฤดูกาลหลังจบฤดูกาล

Read More