Home > Entrepreneurship

KBank จับคู่พ่อค้า ไทย-จีน เสริมกลยุทธ์ ธุรกิจ เอสเอ็มอี

จากภาพรวมการค้าการลงทุนธุรกิจเอสเอ็มอีไทย-จีน ที่ดำเนินไปด้วยดี ธนาคารกสิกรไทย เล็งเห็น ช่องทางในการหาลู่ทางจับคู่ทางธุรกิจ หวัง สร้างเครือข่ายและหากลยุทธ์เพื่อเพิ่มมูลค่าทางการค้า โดยเน้น ธุรกิจ มันสำปะหลัง เป็นหลัก คาดจะสามารถกระตุ้นการส่งออกมันสำปะหลังไปยังจีนในปีนี้ได้ถึง 1 ล้านตัน มูลค่าราว 7,000 ล้านบาท พิพิธ เอนกนิธิ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย ระบุว่า ภาพรวมการค้าระหว่างไทยกับจีน ในปีที่ผ่านมา มีมูลค่าการค้าสูงถึง 78,684.81 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ

Read More

เคทีซีเปิดเกมรุกปีนี้…

เคทีซีเปิดเกมรุกปีนี้... หลังผลกำไร ปี 2555 เป็นไปตามคาด จากการปรับโครงสร้างและกระบวนการทำงาน บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด ประกาศแผนกลยุทธ์ปี 2556 ภายใต้คอนเซ็ปท์ “Happy Go Lucky” ระเฑียร ศรีมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร

Read More

4 กูรู หวั่นเศรษฐกิจโลก ส่งผลกระทบต่อไทย ทางออกอยู่ที่ไหน

4 กูรู หวั่นเศรษฐกิจโลก ส่งผลกระทบต่อไทย ทางออกอยู่ที่ไหน ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ - ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ - ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล- ศ.ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย แนะหนทางพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างยั่งยืน รับมือต่อความผันผวนของเศรษฐกิจโลก ดร.สมคิดแนะสร้างความยั่งยืนให้ประเทศไทยในระยะยาว ด้วยความสมดุล-ความพอดี- สร้างภูมิคุ้มกันทดแทนนโยบายประชานิยม เพราะประเทศไทยได้มีโอกาสที่จะเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียน ที่ผ่านมาประเทศไทยเติบโตขึ้นจากการส่งออก การลงทุนจากต่างประเทศ และการทำ FTA กับต่างประเทศ และการเติบโต 30 ปีที่ผ่านมาการส่งออกของไทยได้เติบโตขึ้น แต่ท่ามกลางการเติบโตนี้ สิ่งที่ประเทศไทยละเลย คือ การสร้างความเข้มแข็งภายใน ซึ่งการเติบโตนี้ก็เป็นสัญญาณอันตราย ที่ไม่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทยเท่านั้น อันตรายนี้ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นกับเศรษฐกิจโลกอีกด้วย ดังนั้นการพัฒนาให้เกิดความยั่งยืนคือ ทำให้เกิดความสมดุล ขจัดความเหลื่อมล้ำและต่อต้าน การสุจริตคอรัปชั่นประการต่อมาคือ ความพอดี

Read More

ขยายสมรภูมิค้าปลีก โมเดลธุรกิจใหม่ของ ปตท.

 แม้รายได้รวมของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) มูลค่ากว่า 2.4 ล้านล้านบาท มาจาก “น้ำมัน” เป็นตัวหลัก ทั้งการซื้อขายน้ำมันดิบระหว่างประเทศ ธุรกิจโรงกลั่น และธุรกิจค้าปลีกน้ำมัน แต่หากเปรียบเทียบกับระดับกำไร 100,000 ล้านบาท และนับวันส่วนต่างกำไรของธุรกิจน้ำมันจะลดน้อยลงอย่างต่อเนื่อง มิหนำซ้ำยังต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมหาศาล และเผชิญหน้ากับการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น ทำให้ ปตท. ต้องปรับโมเดลธุรกิจใหม่ โดยให้น้ำหนักกับกลุ่มธุรกิจอื่นๆ (นอนออยล์) และบุกธุรกิจค้าปลีกอย่างเต็มรูปแบบ โดยเฉพาะการร่วมมือกับบริษัท เค.อี.แลนด์ จำกัด ลงทุนก่อสร้างไลฟ์สไตล์คอมมูนิตี้มอลล์ครบวงจร “เดอะคริสตัลพีทีที” บนถนนชัยพฤกษ์ พื้นที่ 12 ไร่ ซึ่งจะเปิดให้บริการในเดือนตุลาคมปีนี้  ถือเป็น “จุดเปลี่ยน” สำคัญของทิศทางการทำธุรกิจน้ำมัน ไม่ใช่แค่การเปิดปั๊มน้ำมันในศูนย์การค้า แต่เป็นการสร้างธุรกิจค้าปลีกเป็นจุดขายใหม่และใช้สถานีบริการน้ำมันเป็น “แม็กเน็ต” ตัวหนึ่ง  โดยพื้นที่ค้าปลีกทั้งหมดกว่า 9,000 ตารางเมตรในเดอะคริสตัลพีทีที  จะประกอบไปด้วยร้านรูปแบบใหม่ของ ปตท. ทั้งจิฟฟี่ซูเปอร์เฟรชมาร์เก็ต จิฟฟี่คิทเช่น ร้านกาแฟคาเฟ่อเมซอน มีโซนร้านค้าแฟชั่น โซนการศึกษาสำหรับเด็กๆ

Read More

บิ๊กโปรเจกต์พลิกโฉม “จตุจักร” แผนโกยรายได้แสนล้าน

ตลาดนัดจตุจักรกลับมาคึกคักสุดขีดอีกครั้ง และขยายทำเลทองกว้างขวางออกไปรอบด้าน เมื่อรัฐบาล “ยิ่งลักษณ์” เปิดทางให้ทุกหน่วยงานลุยแผนลงทุนบิ๊กโปรเจกต์ เพื่อกอบโกยรายได้จำนวนมหาศาลไม่ว่าจะเป็นการสร้างโครงข่ายคมนาคมรองรับรถไฟหลากสีเพื่อสร้างศูนย์กลางหรือ “ฮับ” การขนส่งขนาดใหญ่  โครงการพัฒนาที่ดิน “หมอชิตเก่า” ของกรมธนารักษ์ 63 ไร่ เชิงพาณิชย์เต็มรูปแบบ และยาวไปถึงแผนเนรมิตเมืองใหม่มูลค่ามากกว่า 1.3 แสนล้านบาท เนื้อที่ 357 ไร่ หลังตึกเอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ ซึ่งการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ซุ่มศึกษามานาน และลุ้นรัฐบาลหลายชุดอนุมัติหลายรอบ    ตามแผนหลักของทั้ง 3 หน่วยงานนั้น กระทรวงคมนาคมตั้งเป้าขยายโครงการรถไฟชานเมืองเข้าสู่สถานีบางซื่อ ทั้งสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน สายสีม่วง บางซื่อ-บางใหญ่ และสายสีน้ำเงิน บางซื่อ-ท่าพระ บวกกับรถไฟฟ้าบีทีเอสและรถไฟฟ้าใต้ดิน ซึ่งคาดว่าจะมีผู้คนเดินเข้าออกพื้นที่มากกว่าหลายล้านคนต่อวัน    ขณะที่โครงการคอมเพล็กซ์ของกรมธนารักษ์ ซึ่งคณะกรรมการผังเมืองเพิ่งมีมติปรับพื้นที่บริเวณหมอชิตเก่า เปลี่ยนจากพื้นที่สีน้ำเงิน หรือที่ดินประเภทสถาบันราชการ  เป็นพื้นที่สีแดง พ.4 หรือที่ดินประ เภทพาณิชยกรรมในระดับที่สามารถพัฒนาได้ 8 เท่าของแปลงที่ดิน คือ 63

Read More

“เซ็นทรัล” เปิดแผนสองรุก “ซีพี” ยึด “จี-สโตร์” ชน “ซูเปอร์คอนวีเนียน”

ภายหลังกลุ่มเซ็นทรัลตกลงร่วมทุนกับกลุ่มแฟมิลี่มาร์ท ประเทศญี่ปุ่น โดยบริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (ซีอาร์ซี) เข้าถือหุ้นใหญ่ 50.29% ในบริษัท สยามแฟมิลี่มาร์ท จำกัด ผู้บริหารร้านแฟมิลี่มาร์ท ในประเทศไทย และวางแผนขยายสาขาเพิ่มขึ้นเป็น  1,500 แห่ง ภายใน 5 ปี และ 3,000 แห่ง ภายใน 10 ปีข้างหน้า แน่นอนว่าเป้าหมายใหญ่อยู่ที่การแย่งชิงส่วนแบ่งผู้นำตลาดคอนวีเนียนสโตร์อย่างเครือเจริญโภคภัณฑ์หรือ “ซีพี” ที่ยึดครองผ่านร้านเซเว่น-อีเลฟเว่น ล่าสุด เซ็นทรัลเดินหน้าแผนสอง บุกช่องทาง “จี-สโตร์” หรือ Gas Store ร้านสะดวกซื้อในสถานีบริการน้ำมัน ซึ่งเป็นเค้กก้อนใหญ่อีกก้อนของเซเว่น-อีเลฟเว่น  โดยส่ง “ท็อปส์เดลี่” เข้ามาเจาะพื้นที่ผ่านปั๊มน้ำมันคาลเท็กซ์ เพื่อขยายเครือข่ายค้าปลีกเสริม “มินิบิ๊กซี” ที่กำลังเร่งปูพรมสาขาในปั๊มน้ำมันบางจากถือเป็นการต่อสู้ของยักษ์ใหญ่สองค่ายนอกเหนือจากเทสโก้โลตัส ที่เป็นพันธมิตรกับปั๊มเอสโซ่ และที่สำคัญยังเป็นการต่อสู้ด้านโมเดลธุรกิจระหว่าง “มินิซูเปอร์มาร์เก็ต” ของกลุ่มเซ็นทรัล กับ “ซูเปอร์คอนวีเนียน” ของค่ายซีพี

Read More

SAA และ Life Path Choice ข้อเสนอที่ยังไร้บทสรุปจาก กบข.

ความพยายามของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ที่จะตอบสนองความพึงพอใจให้กับสมาชิกกองทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของผลตอบแทนการลงทุน กำลังทำให้ กบข. ต้องแสวงหาหนทางในการปรับเปลี่ยนสัดส่วนการลงทุน ซึ่งอาจส่งผลให้ต้องมีการแก้กฎกระทรวงที่เป็นเงื่อนบังคับการบริหารงานของ กบข. หรือแม้กระทั่งอาจขยายผลไปสู่การปรับแก้พระราชบัญญัติว่าด้วย กบข. ในอนาคตอีกด้วย มิติมุมมองเกี่ยวกับการปรับแผนการลงทุนระยะยาว (Strategic Asset Allocation: SAA) ที่ได้จัดทำขึ้นใหม่ และอยู่ระหว่างการสรุปแนวทางการจัดทำแผนเพื่อขออนุมัติจากคณะกรรมการคาดว่าจะเสร็จสิ้นภายในสิ้นปี 2555 และจะสามารถเริ่มใช้ได้ตั้งแต่ต้นปี 2556 อยู่ที่การสร้างความคล่องตัวและยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนสินทรัพย์การลงทุนได้ตามวงจรเศรษฐกิจ ซึ่งเชื่อว่าจะสามารถเพิ่มโอกาสในการสร้างผลตอบแทนให้กับสมาชิกได้สูงขึ้น กรณีดังกล่าว เป็นผลสืบเนื่องจากการที่กระทรวงการคลังโดยกรมบัญชีกลาง เตรียมแก้ไขการจ่ายเงินบำนาญให้ข้าราชการที่เป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ตามข้อเรียกร้องของข้าราชการที่บรรจุก่อนวันที่ 27 มีนาคม 2540 ซึ่งไม่พอใจเงินก้อนที่ได้รับจาก กบข. หลังเกษียณ เนื่องจากเห็นว่าไม่เป็นไปตามสมมุติฐานเดิมที่ตั้งไว้ในช่วงแรกของการจัดตั้งกองทุน เหตุดังกล่าวทำให้กรมบัญชีกลางได้ข้อสรุปเพื่อยุติปัญหาต่างๆ โดยจะให้สมาชิกที่รับราชการก่อนปี 2540 สามารถเลือกได้ว่าจะรับบำนาญสูตร กบข. ต่อไป หรือจะกลับไปใช้บำนาญสูตรเดิม ตาม พ.ร.บ. บำเหน็จบำนาญ 2494 โดยหากสมาชิกส่วนใหญ่เลือกกลับไปใช้บำนาญสูตรเดิม แน่นอนว่าภาครัฐต้องมีภาระงบประมาณเพิ่มขึ้นอย่างมาก และอาจส่งผลกระทบต่อฐานะการคลังของประเทศในระยะยาว แต่ขณะเดียวกันมาตรการเยียวยาดังกล่าวย่อมส่งผลต่อสถานะ ภาพลักษณ์ และความเป็นไปของ กบข.

Read More

7-11 สู้ศึกรอบด้าน สงครามคอนวีเนียนสโตร์

สงครามคอนวีเนียนสโตร์ดุเดือดมากขึ้น เมื่อผู้เล่นยักษ์ใหญ่เข้ามาบุกตลาดและใช้กลยุทธ์จับมือพันธมิตรสร้างความแข็งแกร่งไม่ว่าจะเป็นการร่วมทุนระหว่างบริษัท เซ็นทรัลรีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (ซีอาร์ซี) กับบริษัท แฟมิลี่มาร์ท ประเทศญี่ปุ่น โดยซีอาร์ซีเข้าถือหุ้นใหญ่ 50.29% ในบริษัท สยามแฟมิลี่มาร์ท จำกัด ผู้บริหารร้านแฟมิลี่มาร์ท ในประเทศไทย และประกาศแผนขยายสาขาให้ได้ 1,500 สาขา ภายใน 5 ปี และเพิ่มเป็น 3,000 แห่ง ภายใน 10 ปี จากปัจจุบันเปิด 746 สาขาล่าสุด บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) เตรียมบรรลุข้อตกลงร่วมทุนกับบริษัท ลอว์สัน อิงค์ ประเทศญี่ปุ่น เจ้าของเครือข่ายกิจการร้านสะดวกซื้อรายใหญ่อันดับ 2 ของญี่ปุ่น จัดตั้งบริษัท สหลอว์สัน จำกัด ยกเครื่อง "ร้าน 108 ช้อป" ทั้ง 600 สาขา เพื่อรุกตลาดครั้งใหญ่นี่ยังไม่นับรวมกลุ่มไฮเปอร์มาร์เก็ตและซูเปอร์มาร์เก็ตที่แห่ลงมาเล่นเกมไซส์เล็กแบบเจาะช่องว่างทุกตารางเมตร อย่างโลตัสเอ็กซ์เพรส ที่ล่าสุดเปิดแล้ว 500 สาขา มินิบิ๊กซี 90 สาขา สิ้นปีเพิ่มเป็น 125 สาขา ท็อปส์เดลี่ 114 สาขา สิ้นปีเพิ่มเป็น 200 สาขา และแม็กซ์แวลู่ทันใจที่เร่งขยายตามแนวรถไฟฟ้าอีก 27 สาขาการรุกตลาดและตีขนาบพื้นที่อย่างต่อเนื่องส่งผลให้เบอร์ 1 ในธุรกิจร้านสะดวกซื้อหรือคอนวีเนียนสโตร์ อย่าง "เซเว่น-อีเลฟเว่น" ของเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ต้องสู้ศึกรอบด้าน ซึ่งปิยะวัฒน์ ฐิตะสัทธาวรกุล กรรมการผู้จัดการบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ยอมรับว่า นี่คือการเปลี่ยนแปลงที่กดดันให้เซเว่น-อีเลฟเว่น ต้องหนีจุดแข็งของคู่แข่งและต้องสร้างความแตกต่างให้ได้จุดแข็งใหม่ของเซเว่นฯ คือการเข้าสู่ร้านสะดวกซื้อแบบครบวงจร

Read More

ไตรภัค สุภวัฒนา “เสื้อเหมือนป้ายโฆษณา”

 “ไตรภัค สุภวัฒนา” หนึ่งในดีไซเนอร์ยุคแรกๆ ของ “ERR-OR DESIGN” ถือเป็นจุดขายและเอกลักษณ์หนึ่งที่ทำให้เสื้อยืดธรรมดาไม่ธรรมดา เพราะลายเสื้อทุกชิ้นล้อเลียนและเสียดสีสังคม โดยเฉพาะการต่อต้านลัทธิบริโภคนิยม คอลเลกชั่น “Foodland” ซึ่งไม่ต่างจากอาชีพนักเขียนการ์ตูนที่ไตรภัคพยายามนำเสนอผลงานในฐานะนักเขียนการ์ตูนไทยท่ามกลางการ์ตูนญี่ปุ่นที่ล้นทะลักตลาด แม้มี “โทริยาม่า อากิระ” ซึ่งโด่งดังจากการ์ตูนเรื่อง “ดร.สลัมป์กับหนูน้อยอาราเล่” และ “ดราก้อนบอล” เป็นไอดอลในดวงใจก็ตาม“ผมทำเสื้อเพื่อบอกเล่าอะไรบางอย่าง เสื้อเป็นสื่ออย่างหนึ่ง เป็นป้ายโฆษณา เพื่อบอกความชอบส่วนตัว ผมสร้างเสื้อที่บอกความชอบและแสดงจุดยืน ผมคิด ถึงอาหารก่อน ผมต่อต้านบริโภคนิยม ผมนำเสนอลายข้าวหน้าหมู แต่เป็นข้าวหน้า หมูจานใหญ่มากที่คนกินเท่าไหร่ก็ไม่อิ่ม ไม่รู้จักพอ เขียนถึงฟาสต์ฟู้ดแบรนด์ดังให้วัยรุ่นที่กำลังเห่อว่าเรากินมันและเรากำลังถูกมันกินเช่นกัน”ทุกครั้งที่ทำลายเสื้อ ไตรภัคมักมีคำอธิบายเล็กๆ เพื่อสื่อทัศนคติ เป้าหมาย ไม่ใช่ยับยั้งระบบ เพราะในความจริง ตัวเขากินฟาสต์ฟู้ดแบรนด์ดังๆ เช่นกัน แต่แนวคิด “Foodland” อยากให้เด็กวัยรุ่นมองอาหารต่างชาติราคาแพงเหล่านี้เป็นเพียงอาหารมื้อหนึ่งที่กินเพื่ออยู่ ไม่ใช่ค่านิยม ไม่ใช่แฟชั่น ไม่ใช่เครื่องประดับ กินแล้วดูเท่กว่าข้าวแกงจานละ 25 หรือ 30 บาทสำหรับคอลเลกชั่นใหม่ เขาเตรียมทำลายเสื้อนำเสนอทัศนคติเกี่ยวกับ “คนไร้บ้าน” เนื่องจากเป็นปัญหาที่สะท้อนสภาพ สังคมหลายอย่าง ปัญหาครอบครัว ปัญหาเศรษฐกิจในระดับประเทศ การบริหารของ รัฐบาล การกระจายรายได้ที่ล้มเหลว ซึ่งเก็บเกี่ยวประสบการณ์และความรู้สึกจากการไปเฝ้าดูกลุ่มคนเหล่านี้ที่สนามหลวง เยาวราช แต่ทำเนื้อหาให้สนุกขึ้นแม้ไม่ใช่ลูกค้าทั้งหมดที่ชอบ ERR-OR DESIGN แต่เสื้อยืดสไตล์ไตรภัคนี่แหละ ที่มัดใจแฟนขาประจำได้ชะงัดนัก

Read More

ขบวนการมนุษย์ 5 สี Err-or design

 จากเด็กนักศึกษาขายเสื้อยืดแบกะดินแถวถนนข้าวสารเมื่อ 5 ปีก่อน วันนี้ “ERR-OR DESIGN” แปลงร่างกลายเป็นแบรนด์เสื้อยืดแนวกราฟกดีไซน์ที่ฮอตฮิตที่สุดในกลุ่มเด็กวัยรุ่น มีชอปในตลาดนัดจตุจักร ในย่านแฟชั่นสตรีทอย่างสยามสแควร์ ศูนย์การค้าระดับไฮเอนด์ เทอร์มินอล 21 และเซ็นทรัลพลาซา พระราม 9 รวมทั้งกำลังบุกหนักขยายตลาดในต่างจังหวัดและตลาดออนไลน์ขบวนการมนุษย์ 5 สีที่หุ้นส่วนทั้ง 5 คนมักบอกกับใครๆ เริ่มจากหัวเรือใหญ่ วุฒิพณ สุขเจริญนุกูล หรือ “จิ๊ง” ซึ่งเวลานั้นเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เกิดไอเดียชวนเพื่อนคู่หู พัชรดนัย ศรีธนะขัณฑ์ หรือ “เป้า” และวิชญะ วิเศษสรรโชค หรือ “แนท” ลงขันทำเสื้อยืดขาย เริ่มจากการขายแบกะดินแถวถนนข้าวสาร ตลาดนัดจตุจักร เสื้อส่วนใหญ่ตอนนั้นใช้ลายกราฟิกที่ค้นจากอินเทอร์เน็ตบ้าง ลายของนักออกแบบบ้างจนกระทั่งเรียนจบ จิ๊งไปฝึกงานที่บริษัท Drugstore the design guru ซึ่งเป็นบริษัทกราฟิกดีไซเนอร์ที่รวมกลุ่มพี่ๆ ที่จิ๊งชื่นชอบผลงานอย่างมากเขาเกิดความคิดว่าทำไมเมืองไทยไม่มีใครทำอย่างเมืองนอกที่นำเอากราฟิกดีไซน์มาต่อยอดบนเสื้อผ้าและให้เครดิตชื่อ เจ้าของผลงานเพื่อให้ลูกค้าหรือผู้ใช้สินค้ารู้ ให้แฟนๆ ติดตาม ซึ่งนั่นกลายเป็นที่มาของโปรเจ็กต์ “ERR-OR DESIGN” โดยดึงเพื่อนอีก 2 คนเข้ามาร่วมทีมคือ ชาติเชื้อ เชื้อชาติ หรือ “เดียร์” และ สิทธวัชร์ นิลศรี หรือ “นนท์”“จิ๊ง แนท เป้า เป็นเพื่อนเรียนอัส-สัมชัญด้วยกัน

Read More