Home > Green

TIPMSE ร่วมมือหน่วยงานรัฐ และสถาบันการศึกษา จัดการขยะแบบยั่งยืน

สถาบันการจัดการบรรจุภัณฑ์และรีไซเคิลเพื่อสิ่งแวดล้อม (TIPMSE) สภาอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย จับมือหน่วยงานภาครัฐและสถาบันการศึกษาชั้นนำ ลงนามข้อตกลงร่วมศึกษา การจัดการขยะแบบยั่งยืนในไทยโครงการศึกษาการพัฒนาระบบจัดการขยะรีไซเคิลอย่างยั่งยืน ที่เหมาะสมกับประเทศไทย (ระยะที่ 1)- TIPMSE สภาอุตฯประกาศลงนามร่วมศึกษาแนวทางการจัดการขยะในเมืองไทยอย่างยั่งยืน ร่วมกับ 9 องค์กร ครอบคลุมทุกภาคส่วนทั้งภาคอุตสาหกรรม การศึกษา การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม และการปกครองท้องถิ่น ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพมหานคร กรมโรงงานอุตสาหกรรม, กรมควบคุมมลพิษ, กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม, กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น, สมาคมองค์การบริหารส่วน จังหวัดแห่งประเทศไทย สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย และสมาคมองค์การบริหารส่วนตำบล แห่งประเทศไทย

Read More

Nest: เครื่องควบคุมอุณหภูมิแสนอัจฉริยะแห่งศตวรรษที่ 21

 Green Path Chronicles  ก่อนอื่นต้องทำความรู้จักกับเจ้า Thermostats กันก่อนว่ามันคืออะไร Thermostats คืออุปกรณ์ที่ใช้ควบคุมอุณหภูมิ โดยทำหน้าที่เปิดปิดเครื่องปรับอากาศทั้งแอร์คอนดิชั่นและฮีทเตอร์ให้เย็นหรืออุ่นขึ้นลงตามอุณหภูมิที่ตั้งค่าไว้ มีทั้งระบบที่สามารถตั้งค่าได้อัตโนมัติหรือแบบธรรมดา  Thermostats เป็นอุปกรณ์คู่อาคารบ้านเรือนของชาวอเมริกันมานานนับร้อยปี และนับจากเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ปี 1977 ซึ่งเป็นวันที่อดีตประธานาธิบดีจิมมี่ คาร์เตอร์ กล่าวสุนทรพจน์ รายงานการขาดแคลนพลังงานก๊าซธรรมชาติในสหรัฐอเมริกา พร้อมกับรณรงค์ให้คนอเมริกันลดการใช้พลังงานอย่างสิ้นเปลือง ด้วยการปรับ Thermostats หรือเครื่องควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ในระดับที่ลดลงทั้งช่วงเวลากลางวันและกลางคืน เพื่อไม่ให้เครื่องปรับอากาศทำงานเกินความจำเป็น  วิกฤตการณ์นั้นผ่านมานานกว่า 30 ปีแล้ว เครื่อง Thermostats ยังคงมีหน้าตาและฟังก์ชันเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง จนกระทั่งเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม ปี 2011 บริษัท Nest Labs ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ Nest Learning Thermostat หรือ เครื่องควบคุมอุณหภูมิแสนอัจฉริยะเครื่องแรกของโลก และล่าสุดเมื่อวันที่ 2 ตุลาคมที่ผ่านมา Nest Labs ได้เปิดตัว Nest

Read More

อาคารสีเขียว (Green Building) ใส่ใจโลก ใส่ใจสิ่งแวดล้อม

นวัตกรรมสำหรับอาคารเขียวจาก "ตราช้าง" ใส่ใจโลก ใส่ใจสิ่งแวดล้อม หลายปีที่ผ่านมา ความห่วงใยและความตื่นตัวในเรื่องสิ่งแวดล้อมมีมากขึ้น เห็นได้จากคนในปัจจุบัน ปรับเปลี่ยนการดำเนินชีวิตให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด อาคารเองก็เป็นอีกวงการหนึ่งที่ได้พัฒนารูปแบบและการใช้งานให้สอดคล้องกับธรรมชาติมากขึ้น จนเกิดเป็นกระแสอาคารสีเขียว (Green Building) ซึ่งก็คือ การพัฒนาสถาปัตยกรรมที่ยั่งยืน โดยนำเทคโนโลยีที่เหมาะสม มาใช้ในการออกแบบ การก่อสร้าง การบำรุงรักษาอาคาร เทคโนโลยีและวัสดุที่นำมาใช้กับอาคารจะต้องลดหรือไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มตั้งแต่วิธีคิด การออกแบบโครงการที่สอดคล้องกับการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม การเลือกใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับธรรมชาติ ลดการใช้พลังงาน และลดการสร้างมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม “ตราช้าง” ผู้นำนวัตกรรมวัสดุก่อสร้าง เผยถึงเทคนิคการนำวัสดุก่อสร้างมาใช้ ไม่ว่าจะเป็นการสร้าง ใหม หรือการปรับปรุงอาคาร เพื่อตอบรับนวัตกรรมอาคารเขียวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันมีการผลิตวัสดุก่อสร้างเพื่ออาคารเขียวออกมาอย่างหลากหลาย อาทิ ฉนวนกันความร้อน ฉนวนลดเสียงสะท้อน

Read More

โครงการ อีซูซุให้น้ำ..เพื่อชีวิต” และ “อีซูซุเยาวชนสัมพันธ์ 2555” ฉลองครบรอบ 55 ปีในไทย

อีซูซุให้น้ำ…เพื่อชีวิต” และ “อีซูซุเยาวชนสัมพันธ์ 2555” ฉลองครบรอบ 55 ปีในไทย คืนกำไรสู่สังคม บริษัท ตรีเพชรอีซูซุเซลส์ จำกัด สร้างสรรค์กิจกรรมเพื่อสังคมในโอกาสฉลองครบรอบ 55 ปี การดำเนินธุรกิจในประเทศไทยของกลุ่มอีซูซุ ด้วยโครงการ“อีซูซุให้น้ำ...เพื่อชีวิต” การจัดสร้างและพัฒนาระบบน้ำดื่มอนามัย ณ สถานศึกษาในถิ่นทุรกันดาร เพื่อร่วมพลิกฟื้นคุณภาพชีวิตที่ดีสู่เยาวชนไทย พร้อมต่อยอดด้วยกิจกรรมการประกวดวาดภาพโปสเตอร์พร้อมคำขวัญ โครงการ “อีซูซุเยาวชนสัมพันธ์” ประจำปี พ.ศ. 2555 ในหัวข้อ “น้ำเพื่อชีวิต” ตอกย้ำพันธกิจพัฒนาสังคมไทยเพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีโดยผ่านทักษะด้านศิลปะของเยาวชนไทยซึ่งเป็นอนาคตของชาติ มร. ฮิโรชิ

Read More

ทีเอ็มบี เปิดกิจกรรม “ไฟ ฟ้า อิน อะ บ็อกซ์ 2012”

ทีเอ็มบี เปิดกิจกรรม “ไฟ ฟ้า อิน อะ บ็อกซ์ 2012” รวมพลัง Make THE Difference ทีเอ็มบี หรือธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) นำโดย ภารไดย ธีระธาดา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สื่อสารและภาพลักษณ์องค์กร จัดกิจกรรม “ไฟ ฟ้า อิน อะ บ็อกซ์ 2012” ปลุกพลังพนักงานทีเอ็มบี ทั่วประเทศ ร่วมต่อยอดจุดประกายความคิดสร้างสรรค์ สร้างเสริมจิตใจแห่งการให้คืนสู่สังคม

Read More

Green Passion

 การตัดสินใจเกษียณตัวเองเมื่ออายุ 50 ปี ทำสิ่งที่ชอบ แม้กระทั่งไปหอสมุดแห่งชาติ เพื่อใช้เวลากับการตามอ่านหนังสือประวัติศาสตร์ เริ่มตั้งแต่ประวัติวัดพระแก้วมีธุรกิจอพาร์ตเมนต์ให้เช่าสำหรับชาวญี่ปุ่นที่ซอยทองหล่อ มีบ้านและที่ดินอีกหลายแปลงในทำเลที่มีพื้นที่จำกัดทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดฐานะทางสังคมในตอนนั้นเป็นถึงคุณนายผู้ว่าฯ แถมไม่เคยมีความรู้เรื่อง การผลิตไฟฟ้าสักนิด แต่สุดท้ายกลาย เป็นผู้บริหารของบริษัทผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์รายใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อ่าน “พลังงานแสงอาทิตย์กู้โลก” นิตยสารผู้จัดการ 360 ํ  ฉบับกรกฎาคม 2554)เรื่องราวของวันดี กุญชรยาคง ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เอสพีซีจี จำกัด (มหาชน) บุคคลที่มีหลักคิดว่าการจะทำให้ตัวเองประสบความสำเร็จได้ “ต้องอย่าท้อถอย มีความเชื่อมั่นในตัวเอง และต้องเชื่อว่าโอกาสคือสิ่งที่เราสร้างขึ้นเองได้ ถ้าวันนี้พรุ่งนี้ยังไม่สำเร็จ วันหนึ่งในอนาคตก็ประสบความสำเร็จได้ถ้าไม่ย่อท้อเสียก่อน” บทบาทในฐานะผู้ริเริ่มพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ให้กับวงการ พลังงานไทย เป็นบทบาทใหม่ที่เกิดขึ้นจาก Passion ล้วนๆ เป็นการสร้างโอกาส ใหม่ที่เธอสร้างให้กับตัวเองและสังคมไทย จนได้รับการยกย่องจากธนาคารโลก (World Bank) ให้เป็นตัวแทนผู้หญิงคนเดียวจากเอเชียในฐานะ “ผู้สร้างโอกาสให้ตัวเอง” ในแคมเปญ “I am opportunity” เมื่อปี 2554มีมุมมองด้านสิ่งแวดล้อมอย่างไรมองให้เป็นธรรมชาติและมีตรรกะ สิ่งที่เราเห็นคือมนุษย์ใช้ทรัพยากรจากใต้ดินมหาศาล แก๊ส น้ำมัน ฯลฯ โอกาสที่โลกฟอร์มตัวน้ำมันดิบต้องใช้เวลาเป็นพันๆ ปีการดึงของใต้ดินที่มีแรงดัน มีความหนาแน่นขึ้นมาใช้บนผิวโลก จะมีอะไรไปแทนที่ก็ย่อมเกิดผลกระทบ ตอนเด็กเคยสงสัยว่าเอาน้ำมันใส่รถแล้วมันหายไปไหน มันก็ระเหยไปในอากาศ เป็นการบอกให้เรารู้ว่าไม่มีสสารอะไรหายไปจากโลกนี้ถูกไหม มันแค่เปลี่ยนไปอยู่อีกรูปหนึ่งแล้วก็ไปบล็อกชั้นบรรยากาศที่ทำให้เกิดภาวะเรือนกระจก เราเห็นภาพจากสิ่งที่เราสงสัยเล็กๆ น้อยๆ

Read More

โลกป่วย โรคติดต่อเบ่งบาน

 ทุกวันนี้สถานการณ์โรคติดต่อรุนแรงขึ้นทุกวัน ต้นเหตุของโรคติดต่อที่รุนแรงกลับมาเกิดขึ้นมากมายมีผลมาจากภาวะโลกร้อน การเปลี่ยนสภาพธรรมชาติและการเพิ่มขึ้นของประชากรเป็นที่แน่ชัดว่าโลกเราจะร้อนขึ้นเรื่อยๆ มีการศึกษาคาดการณ์จากหลายสำนักหลายองค์กรทั่วโลกที่เตือนภัยคุกคามและสร้างความตระหนักที่จะตั้งรับในผลกระทบต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น ในผลกระทบเหล่านี้มีผลต่อชีวิตมนุษย์โดยตรงก็คือภัยคุกคามที่เกี่ยวกับโรคติดต่อ ภาวะสุขอนามัย และแหล่งน้ำแหล่งอาหารนอกจากภาวะโลกร้อนแล้ว จำนวนประชากรโลกยังเพิ่มขึ้นและจะเพิ่มต่อไปเรื่อยๆ ต่อเนื่องไปอย่างน้อยก็อีก 50 ปีข้างหน้า ฉะนั้นความต้องการ สิ่งจำเป็นต่อชีวิตก็ย่อมเพิ่มขึ้นด้วย แต่แหล่งทรัพยากรที่เป็นปัจจัยเอื้ออำนวยก็มีอยู่จำกัดและยังถูกคุกคามด้วยภาวะโลกร้อนอีก ปัญหาจึงเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ และเป็นลูกโซ่เกี่ยวโยงกัน ตลอดเวลาสิบกว่าปีที่ผ่านมาถึงปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินอย่างรวดเร็วรองรับประชากรที่เพิ่มขึ้น จากสภาพป่า สภาพธรรมชาติ มาเป็นเมือง เป็นพื้นที่เกษตรกรรม เป็นเขื่อน เป็นถนนหนทาง เป็นอุตสาหกรรม เป็นเหมืองแร่ ฯลฯ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะเป็นความจำเป็น (แทรกซึมด้วยผลประโยชน์ ธุรกิจของคนบางกลุ่ม ทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรฟุ่มเฟือยอย่างไม่ยั่งยืน) แต่ก็ยังไม่เพียงพอการหวนกลับมาของโรคที่อาศัยพาหะในส่วนของโรคติดต่อที่แพร่ขยายขึ้นจากอุณหภูมิของอากาศที่สูงขึ้นและภัยพิบัติที่ทำให้ระบบนิเวศเปลี่ยนไป โรคติดต่อที่อาศัยพาหะ เช่น ยุง แมลงวัน หรือตัวกลาง เช่น น้ำ อาหาร จะเกิดได้ง่ายและรวดเร็วมาก จากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม โรค ดังกล่าว เช่น มาลาเรีย อหิวาต์ ล้วนเป็นโรค ที่เมืองไทยรู้จักกันดี โรคเหล่านี้เคยถูกปราบปรามโดยยาและระบบสาธารณสุขอย่างได้ผล แต่กำลังจะหวนกลับมาอีกแน่นอน

Read More

บอละเวน ความสมบูรณ์แห่งลาวใต้

 หลายคนมองว่าจุดอ่อนของ สปป.ลาว คือเป็นประเทศที่มีดินแดนปิดเพราะไม่มีพื้นที่ติดทะเล แต่ถ้าพิจารณาในแง่ทรัพยากรธรรมชาติ หลายพื้นที่ของ สปป.ลาวเป็นดินแดนที่ให้คุณค่าแก่ธรรมชาติของภูมิภาคนี้อย่างเต็มที่อย่างไม่ปิดกั้นเลยทีเดียวดังเช่นที่ สปป.ลาวเป็น 1 ใน 6 ประเทศที่เป็นผู้ให้สูงสุดแก่แม่น้ำโขง เพราะเป็นดินแดนที่ยังคงความสมบูรณ์ของป่าไม้ ไว้มากที่สุด ภูเขาปกคลุมด้วยป่าเป็นแหล่ง กำเนิดของสายน้ำน้อยใหญ่ต่างๆ ในลาว เป็นท่อน้ำที่ทำหน้าที่เติมเต็มความสมบูรณ์ ให้กับแม่โขงทั้งทางตรงและทางอ้อมปริมาณน้ำในแม่น้ำโขงที่เพิ่มขึ้นขณะไหลผ่าน สปป.ลาว ทำให้แม่น้ำสายนี้ ยังคงไหลรินให้ความสมบูรณ์ต่อไปยังกัมพูชาและเวียดนามและหล่อเลี้ยงหลายพื้นที่ของไทย ถือเป็นการเผื่อแผ่ความสมบูรณ์ไปยังประเทศเพื่อนบ้านอย่างไม่ปิดล็อกเหมือนลักษณะภูมิประเทศ เป็นความเอื้ออาทรตามธรรมชาติที่ลาวแบ่งปันให้กับเพื่อนบ้านมาแสนนานแม่น้ำโขงมีความยาว 4,480 กิโล เมตร ทำหน้าที่หล่อเลี้ยงคนใน 6 ประเทศ ตั้งแต่จีน พม่า ลาว ไทย กัมพูชา และเวียดนาม ช่วงตอนกลางของลำน้ำที่ไหลผ่านประเทศไทย ทุกปีจะต้องประสบปัญหา สภาพน้ำแห้งขอด บางช่วงที่เป็นพรมแดนกั้นเขตไทย-สปป.ลาว กลายเป็นพื้นดินที่เดินถึงกันได้ในฤดูแล้ง จนเป็นที่หวั่นเกรงกันว่าแม่น้ำสายนี้จะยังคงไหลไปหล่อเลี้ยงทั้ง 6 ประเทศนี้ได้เหมือนเดิมอีกนานแค่ไหนนี่คือหนึ่งในความกังวลที่ทำให้การก่อสร้างเขื่อนในแขวงไซยะบุรีของลาว ซึ่งมีพื้นที่อยู่ติดฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง ต้องเผชิญ กับปัญหาระงับการก่อสร้างเพราะเกรงว่าจะส่งผลกระทบต่อการลดลงหรือสูญเสียทรัพยากรป่าไม้ ซึ่งเป็นทรัพยากรธรรมชาติ ที่ผู้คนทั่วโลกตระหนักมากขึ้นทุกวันว่า มีคุณค่าต่อการดำรงอยู่ของชีวิตมนุษย์มากกว่าสิ่งก่อสร้างใดๆจากแขวงตอนเหนืออย่างไซยะบุรี 4

Read More

วันดี กุญชรยาคง “โอกาสของชีวิตอยู่ที่เราสร้างขึ้นเอง”

 วันดี กุญชรยาคง จบบัญชีจากกรุงเทพการบัญชี จบมาไม่เคยทำบัญชีเป็นอาชีพ เพราะมองว่าเป็นงานที่ไม่มีอะไรท้าทาย จึงไปเรียนต่อกฎหมาย เคยทำงานขายแผงโซลาร์เซลล์ให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยสำหรับพื้นที่ห่างไกลที่ไม่มีไฟใช้นี่คือประวัติย่อๆ จากวันดีที่ดูไม่อยาก เล่าย้อนอดีตมากเท่ากับพูดถึงสิ่งที่ทำอยู่ในปัจจุบันเช่นเดียวกับที่ไม่เคยให้ข่าวว่าสามีเป็น อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดนครนายก (สุรพงษ์ จุลเจริญ) ซึ่งทำให้เธอมีตำแหน่งเป็นนายกสภากาชาดจังหวัดโดยปริยาย แต่ด้วยความผูกพันในหน้าที่ก็ยังคอยสนับสนุนกลุ่มแม่บ้าน ของจังหวัดอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีสถานะเป็นเหมือนลูกสาวใหญ่ของหลวงพ่อแคล้ว เจ้าอาวาสวัดดอนเมือง เพราะมีผู้ใหญ่แนะนำ ให้รู้จักมาหลายสิบปีก่อนหน้านั้นช่วงน้ำท่วมปี 2554 เลยมีหน้าที่ส่งไข่ ส่งข้าวกล่องไปช่วยเหลือชาวบ้านที่เดือดร้อนผ่านวัดดอนเมืองจำนวนมากมีลูกสาว 1 คนเรียนจบและทำงานเลี้ยงดูตัวเองแบบเดียวกับที่คุณแม่ทำช่วงปี 2548-2549 วันดีเคยตัดสินใจเกษียณจากการทำธุรกิจเพื่อไปใช้ชีวิตตามใจต้องการ“คิดว่าผู้หญิงทำงานถึง 50 ปีก็พอแล้ว ผู้หญิงต้องรักษาร่างกาย ตอนนั้นน้ำหนัก 70 กิโลกรัม พอหยุดงานก็ไปออกกำลังทุกวัน เข้าสปา ลดเหลือ 60 กิโล ไม่ได้ทำงานก็กลัวบ้าเหมือนกัน ต้องหากิจกรรมทำ ไปหอสมุดแห่งชาติ สนใจเรื่องอะไรก็ไปหาอ่าน ชอบที่มีสาระเติมเต็มความรู้ บทสัมภาษณ์ดีๆ ในนิตยสารก็อ่าน เพราะทำให้เราเข้าใจว่าแต่ละคนมีการดำเนินชีวิตแบบไหน”ธุรกิจที่วันดีทำไว้เลี้ยงตัวหลังเกษียณ หลักๆ ได้แก่ อาคาร Capital Residence ในซอยทองหล่อ เป็นอพาร์ตเมนต์ให้เช่าเน้นกลุ่มลูกค้าญี่ปุ่น

Read More

Rio+20 Earth Summit for Sustainable Development คืออะไร

"Sustainable Development" (SD) มีความหมายอย่างไรกันแน่ แม้จะเป็นคำที่มีความหมายลึกซึ้ง เป็นหลักคิดแนวใหม่ในวงการบริหารปกครองและวิชาการ แต่ในสังคมของคนธรรมดาทั่วไปก็มีน้อยคนนักที่จะเข้าใจความหมายอันแท้จริง SD หรือ "การพัฒนาที่ยั่งยืน" คือ แนวทางการพัฒนาประเทศชาติที่สนองความต้องการทั้งของคนรุ่นปัจจุบัน คำนึงถึงคนรุ่นต่อไปในอนาคต SD จะต้องรักษาคุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไว้ให้คงอยู่สืบต่อไป โดยการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและควบคุมให้อยู่ในขีดจำกัดที่ให้ได้ของแหล่งทรัพยากร ขณะที่การพัฒนายังคงเจริญก้าวหน้าต่อไปได้อย่างไม่หยุดยั้ง SD สามารถนำไปปฏิบัติได้ถ้ามีการ วางแผนอย่างรอบคอบ บูรณาการกิจกรรมและการพัฒนาต่างๆ ให้สอดคล้องต้องกัน โดยหาวิถีทางดำเนินการให้เกิดสมดุลทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ฟังดู! แม้จะเป็นอุดมการณ์ที่เข้าใจยาก เข้าถึงได้ยาก แต่ในช่วงหลายปีที่ผ่าน มามีการนำหลักการนี้มาปฏิบัติกันบ้างแล้วทั่วโลก ถึงจะไม่สัมฤทธิผลตามเป้าหมายแต่ก็ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่ามากขึ้น มีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ขึ้นมาขับเคลื่อน เช่น Rene-wable energy technologies ต่างๆ และกลไกทางการค้าทางเศรษฐกิจขึ้นมา เช่น eco-taxes และ carbon trading, carbon-footprint การดำเนินงานของ Rio Earth Summit ที่ผ่านมา และที่จะเป็นไปในอนาคต Earth Summit เริ่มจัดตั้งขึ้นโดย องค์การสหประชาชาติและกลุ่ม NGOs ต่างๆ

Read More