Home > Abenomics

ญี่ปุ่น-สหรัฐฯ: มากกว่าเจรจาการค้า แต่คือการแสวงหาอนาคตร่วมกัน

การเจรจาทวิภาคีระหว่างญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา ที่นำโดยเจ้าหน้าที่ระดับสูงของทั้งสองประเทศ ซึ่งประกอบส่วนด้วย Mike Pence รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ กับ Taro Aso รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของญี่ปุ่น ในฐานะหัวหน้าคณะในการเจรจา ดำเนินไปท่ามกลางความคาดหวังว่าทั้งสองฝ่ายจะสามารถหาบทสรุปลงตัวร่วมกัน หลังจากที่สหรัฐอเมริกาถอนตัวออกจากกรอบความร่วมมือ 12 ชาติใน Trans-Pacific Partnership: TPP ขณะที่ความตึงเครียดครั้งใหม่บนคาบสมุทรเกาหลีทวีแนวโน้มที่จะเป็นภัยคุกคามเสถียรภาพของภูมิภาคอีกด้วย ท่าทีของ Mike Pence ที่ระบุว่า TPP เป็นเรื่องราวในอดีตและสหรัฐอเมริกาไม่ต้องการที่จะรอคอยความสำเร็จจากการเจรจาครั้งใหม่นี้อย่างเนิ่นนานและหวังที่จะบรรลุข้อตกลงร่วมกันในอนาคตอันใกล้ พร้อมกับสำทับว่า เมื่อประธานาธิบดี Donald Trump ตกลงที่จะเริ่มการเจรจาทวิภาคีนี้ วิสัยทัศน์ของสหรัฐฯ ก็คือการสร้างกลไกในการส่งเสริมความร่วมมือและความจำเริญเติบโตทางเศรษฐกิจร่วมกันระหว่างสหรัฐฯ และญี่ปุ่น ซึ่งเขาปรารถนาที่จะเห็นความสำเร็จอย่างใจจดใจจ่อ ขณะที่ Taro Aso ก็ย้ำให้เห็นว่าอุปสรรคทางการค้าระหว่างญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา ที่ทำให้ความสัมพันธ์ของสองประเทศอยู่ในภาวะเสื่อมถอยตลอดช่วงทศวรรษ 1980-1990 เป็นเพียงภาพอดีตที่ห่างไกลออกไปจากข้อเท็จจริงในวันนี้ ที่ทั้งสองประเทศกำลังแสวงหาความร่วมมือ เพื่อร่วมกันสร้างอนาคตที่ดีกว่า ในลักษณะที่ไม่ใช่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบงการหรือออกคำสั่งให้อีกฝ่ายดำเนินการ หากแต่เป็นการถกแถลงเพื่อหาบทสรุปที่นำไปสู่ผลประโยชน์ร่วมและมีเป้าหมายทางยุทธศาสตร์ร่วมกัน ท่วงทำนองของทั้ง Mike Pence และTaro Aso ก่อนและหลังการเจรจา สะท้อนให้เห็นความสำคัญของการก้าวเดินไปข้างหน้าพร้อมกันของสหรัฐฯ และญี่ปุ่น

Read More

บริบทใหม่

 การเดินทางของชีวิต กำลังจะเปลี่ยนผ่านเข้าสู่หลักไมล์ใหม่อีกครั้ง ในช่วงส่งท้ายปีเก่า-ต้อนรับปีใหม่ ซึ่งคงสร้างแรงบันดาลใจและการกำหนดนิยามสำหรับการดำเนินชีวิตในรอบปีถัดไปไม่น้อย สังคมญี่ปุ่นซึ่งเพิ่งผ่านการเลือกตั้งครั้งใหม่ไปเมื่อกลางเดือนธันวาคมที่ผ่านมา โดย Shinzo Abe และพลพรรคเสรีประชาธิปไตย (LDP: Liberal Democratic Party) ของเขาสามารถกลับมาครองที่นั่งในสภาเพื่อเดินหน้า  Abenomics กำลังได้รับการประเมินครั้งใหม่ว่าจะเป็นเพียงมายาภาพที่ถูกสร้างขึ้นหรือเป็นรูปธรรมแห่งการหลุดพ้นจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่ยาวนานกันแน่ ปรากฏการณ์ทางสังคมของญี่ปุ่นนับจากนี้จึงอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของบริบทใหม่ ที่ทับท่วมด้วยความคาดหวัง และ Shinzo Abe คงต้องตระหนักอย่างมั่นคงว่า “ไม่มีผู้ใดสะดุดภูเขาที่สูงใหญ่จนหกล้ม หากแต่สะดุดหินก้อนเล็กๆ จนหัวคะมำ” เพราะนับจากนี้ การดำเนินกิจกรรมตามนโยบายของ Abenomics จะถูกตั้งคำถามถึงความเหมาะสมและความโปร่งใส โดยเฉพาะในมิติของการคอร์รัปชั่น ซึ่งดูเหมือนจะเป็นมะเร็งร้ายในทุกสังคมที่พยายามบอกกล่าวถึงความดีที่เหนือจริงเสมอ สังคมญี่ปุ่นกำลังก้าวสู่บริบทใหม่ทางเศรษฐกิจจากความพยายามรื้อสร้างตามยุทธศาสตร์การพัฒนาแบบ Abenomics ซึ่งในด้านหนึ่งก็คือการส่งออกความเป็นญี่ปุ่นให้แผ่ซ่านและกลายเป็นสินค้าระดับนำให้ประชาชนนานาชาติได้เลือกเสพรับ แนวทางดังกล่าวสะท้อนมิติของการเป็น creativity society ที่พร้อมจะสอดแทรกลักษณะเฉพาะแบบญี่ปุ่น (Japanese uniqueness) ที่จะก่อรูปเป็นสินค้าเชิงวัฒนธรรมที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ และยังกระตุ้นให้เกิดสำนึกแห่งความเป็นชาติของญี่ปุ่น ที่ดำเนินควบคู่กับความพยายามที่จะปลูกฝังและสร้างให้เกิดแนวความคิดชาตินิยมในหมู่เยาวชนญี่ปุ่นด้วย ความพยายามที่จะมุ่งเน้นให้ประชาชนซึ่งเผชิญอยู่กับเศรษฐกิจที่ถดถอยมายาวนานให้มีสำนึกรักและภาคภูมิใจในความเป็นญี่ปุ่นนี้เอง ที่ทำให้ Shinzo Abe นักการเมืองแนวอนุรักษ์และชาตินิยม ได้รับการประเมินด้วยสายตาที่เคลือบแคลง ว่าจะนำพาความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านทั้งเกาหลี และมหาอำนาจอย่างจีนไปในทิศทางใด ทรัพยากรทางความคิดและการผลิตของญี่ปุ่น อาจเป็นจุดเด่นและความแข็งแกร่งของญี่ปุ่น ที่ทำให้สินค้าดีที่ไม่มีแบรนด์หรือ MUJI (Mujirushi Ryohin)

Read More

ชัยชนะของ Shinzo Abe และความหวังครั้งใหม่ของ “Abenomics”

 ผลการเลือกตั้งทั่วไปของญี่ปุ่นเมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาลภายใต้การนำของ Shinzo Abe สามารถกลับมาครองเสียงข้างมากได้อย่างท่วมท้น สะท้อนมิติมุมมองและเป็นประหนึ่งฉันทามติของประชาชนชาวญี่ปุ่น ที่มุ่งหมายให้ Shinzo Abe นำพาประเทศไปสู่การฟื้นตัวครั้งใหม่ภายใต้กรอบโครงแนวความคิด Abenomics ได้เป็นอย่างดี ชัยชนะของ Shinzo Abe และพรรคเสรีประชาธิปไตย (LDP: Liberal Democratic Party) ในด้านหนึ่งเกิดขึ้นจากข้อเท็จจริงที่ว่า Abenomics กำลังเป็นความหวังเดียวของญี่ปุ่นในการพลิกฟื้นกลับคืนมาสู่หนทางการเติบโตทางเศรษฐกิจอีกครั้ง ขณะเดียวกัน ก็เป็นภาพสะท้อนความล้มเหลวของพรรคการเมืองฝ่ายค้าน ที่ไม่สามารถนำเสนอนโยบายเพื่อให้เกิดทางเลือกอื่นๆ และเป็นเหตุให้พรรคฝ่ายค้านต้องพ่ายแพ้ยับเยิน และผู้นำพรรคฝ่ายค้านอย่าง Banri Kaieda แห่งพรรค DPJ (Democratic Party Of Japan) ต้องกลายเป็น ส.ส.สอบตกในพื้นที่ของตัวเองและต้องประกาศสละตำแหน่งประธานพรรคไปโดยปริยาย ความอ่อนแอของพรรคการเมืองฝ่ายค้าน ในด้านหนึ่งอาจหมายถึงความสามารถของ Shinzo Abe ในการผลักดันมาตรการตามแนวทางของ Abenomics ให้บรรลุถึงเป้าหมายที่ต้องการได้อย่างสะดวกง่ายดายยิ่งขึ้น แต่ในทางกลับกันก็สุ่มเสี่ยงที่จะผิดพลาดจากกลไกในการตรวจสอบที่ด้อยประสิทธิภาพ  ยังไม่นับรวมถึงกรณีที่พรรคฝ่ายค้านจะต้องเร่งสังคายนาและสร้างความแข็งแกร่งภายในพรรค เพื่อเรียกคืนความนิยมให้กลับมา ซึ่งทำให้พรรคการเมืองฝ่ายค้านอาจสูญเสียโอกาสในการนำเสนอนโยบายหลักมากขึ้นไปอีก ประเด็นที่น่าสนใจและประเมินกันต่อไปจากผลการเลือกตั้งครั้งล่าสุดของญี่ปุ่นนี้ก็คือ จำนวนประชาชนที่เดินทางออกมาใช้สิทธิลงคะแนนเสียง อยู่ในระดับที่ถือว่าต่ำที่สุดเป็นประวัติการณ์ โดยมีผู้ออกมาใช้สิทธิเพียงร้อยละ 53.3 ของจำนวนผู้มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด

Read More

การรุกคืบของทุนญี่ปุ่นในสยาม ทางรอดหรือทางเลือก

 การลดจำนวนลงของประชากรเกิดใหม่ทำให้ประเทศญี่ปุ่นในปัจจุบันกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุ ส่งผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ เมื่อกำลังการซื้อส่วนใหญ่ผูกติดอยู่กับไลฟ์สไตล์ของกลุ่มคนรุ่นใหม่และกลุ่มคนในวัยทำงาน ที่เป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญในระบบเศรษฐกิจของดินแดนอาทิตย์อุทัย ภาวะการชะลอตัวของกำลังซื้อในญี่ปุ่นส่งผลให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นไม่เติบโตเท่าที่ควร โดยที่ก่อนหน้านี้ญี่ปุ่นใช้ระบบเศรษฐกิจแบบ Abenomics ภายใต้การนำของ Shinso Abe อดีตนายกรัฐมนตรีที่เพิ่งประกาศยุบสภาไปเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา โดยโตเกียวได้ประกาศขึ้นภาษีการค้าจาก 5 เปอร์เซ็นต์เป็น 8 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ประชาชนชะลอการจับจ่าย ผลพวงจาก Abenomics นับเป็นอีกหนึ่งปัญหาใหญ่ที่รัฐบาลใหม่ของญี่ปุ่นที่มาจากการเลือกตั้งวันที่ 14 ธันวาคม 2557 จะต้องเร่งหาทางออกในเรื่องนี้ให้กับบรรดานักธุรกิจและนักลงทุนภายในประเทศ อีกทั้งยังต้องเรียกความน่าเชื่อถือให้กับประเทศเมื่อ Moody’s สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ได้ปรับลดความน่าเชื่อถือของประเทศญี่ปุ่นลงจาก ‘Aa3’ เหลือ ‘A1’ (เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2557) นับเป็นการปรับลดหนึ่งขั้น หลังจากภาวะเศรษฐกิจของญี่ปุ่นเริ่มเข้าสู่สภาวะถดถอยในช่วงไตรมาส 3  การขาดดุลระยะกลางอย่างต่อเนื่องของประเทศญี่ปุ่น และการหดตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศ 0.4% ต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน (เมษายน – มิถุนายน) ที่ 1.9% ทั้งที่ในไตรมาสแรกของปี ตัวเลขการขยายตัวทางเศรษฐกิจอยู่ที่ 1.6%

Read More

ABENOMICS

 นับตั้งแต่ต้นปี 2013 ที่ผ่านมา วลียอดฮิตในหมู่นักวิเคราะห์เศรษฐกิจญี่ปุ่นคงหนีไม่พ้น Abenomics ที่เป็นประหนึ่งแนวทางในการบริหารเศรษฐกิจการคลังของรัฐนาวาญี่ปุ่น ภายใต้การนำของ Shinzo Abe ที่หวนกลับมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นอีกครั้ง ภายหลังชัยชนะในการเลือกตั้งเมื่อปลายปี 2012 ที่ผ่านมา Abenomics กลายเป็นความหวังครั้งใหม่ที่ Shinzo Abe และพลพรรคเสรีประชาธิปไตย (LDP: Liberal Democratic Party) ได้ใช้ในการหาเสียง และทำให้พรรค LDP กลับเข้าสู่วงแห่งอำนาจได้อีกครั้งในเวลาต่อมา ภายใต้ความเชื่อที่ว่ากลไกของ Abenomics จะช่วยประคับประคองเศรษฐกิจญี่ปุ่นให้หวนคืนกลับมาสู่ความมั่งคั่งและรุ่งเรืองได้อีกครั้ง  กลไกหลักของ Abenomics หากจะกล่าวอย่างรวบรัดตัดความก็คงจะได้ประมาณว่าประกอบด้วยมาตรการ “ลูกธนู 3 ดอก” คือเริ่มจากการระดมงบประมาณเพื่อโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐ ตามด้วยมาตรการทางการเงินเชิงรุกอย่างแข็งขันจากธนาคารกลางแห่งชาติ หรือ Bank of Japan และท้ายที่สุดคือการปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางเศรษฐกิจชนิดที่ต้องเรียกว่า “รื้อสร้าง” เพื่อสร้างเสริมความสามารถในการแข่งขันของญี่ปุ่นขึ้นมาใหม่กันเลยทีเดียว ความตกต่ำและซบเซาของเศรษฐกิจญี่ปุ่นเป็นประเด็นปัญหาที่ดำเนินสืบเนื่องยาวนานมากว่า 2 ทศวรรษและมีแนวโน้มจะหนักหนาสาหัสกว่านี้ในช่วงก่อนที่ Shinzo Abe จะกลับมารับตำแหน่งรอบใหม่ หลังจากที่ค่าเงินเยนแข็งค่าเป็นประวัติการณ์ที่ระดับ 70-80 กว่าเยนต่อดอลลาร์

Read More

Japanese Restaurant: วัฒนธรรมที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ

 ในบรรดาธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องด้วยมิติทางวัฒนธรรมนั้น ธุรกิจอาหารดูจะเป็นพลังขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจที่ดำเนินไปอย่างมีพลวัตและการจำเริญเติบโตอย่างต่อเนื่องมากที่สุดแขนงหนึ่ง และดูเหมือนว่าธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่นที่กำลังเบ่งบานอยู่ในสังคมไทยด้วยมูลค่ารวมกว่า 2 สองหมื่นล้านบาทจะเป็นตัวอย่างที่ดีในมิติที่ว่านี้ ขณะเดียวกัน การเกิดขึ้นของร้านอาหารญี่ปุ่นที่กระจายตัวและครอบคลุมพื้นที่ในประเทศไทยอย่างกว้างขวางในขณะปัจจุบัน ก็เป็นประหนึ่งการรุกคืบทางวัฒนธรรมครั้งใหม่ที่กำลังแปลงสภาพเป็นมูลค่าทางธุรกิจที่ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะในบริบทของธุรกิจร้านอาหารแต่โดยลำพังเท่านั้น หากยังหมายรวมถึงธุรกิจเกี่ยวเนื่อง ที่ย่อมมีมูลค่ารวมนับได้หลายหมื่นล้านบาทอีกด้วย ปัจจัยที่ทำให้ร้านอาหารญี่ปุ่นกลับมามีสภาพคึกคักยิ่งขึ้นไปกว่าเดิม หลังจากที่ครอบครองความนิยมในหมู่ผู้บริโภคชาวไทยมาอย่างยาวนาน ในด้านหนึ่งได้รับการประเมินว่าเป็นผลมาจากกระแสความตื่นตัวในเรื่องสุขภาวะจากการบริโภคและวิถีในการปรุงอาหาร ในขณะเดียวกันต้องยอมรับว่ากรอบโครงทางนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจในแบบ Abenomics ก็มีส่วนไม่น้อยในการกระตุ้นให้วัฒนธรรมทางอาหารของญี่ปุ่น ได้รับการส่งเสริมให้เป็นกลไกในการกระตุ้นจักรกลทางเศรษฐกิจของประเทศในห้วงเวลานี้ คำประกาศกร้าวอย่างมั่นใจของ Shinzo Abe นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นต่อหน้านักลงทุนและผู้บริหารกองทุนน้อยใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก (New York Stock Exchange) เมื่อช่วงปลายปี 2013 ที่ผ่านมาว่า “ญี่ปุ่นกลับมาแล้ว” สะท้อนมิติมุมมองและทัศนะของภาครัฐที่พร้อมจะสนับสนุนการรุกคืบครั้งใหม่ของภาคเอกชนญี่ปุ่น โดยเฉพาะเมื่อปรากฏข้อเท็จจริงที่ว่าเศรษฐกิจของญี่ปุ่นเริ่มกลับมาฟื้นตัวและมีความเชื่อมั่นมากขึ้นอย่างช้าๆ แต่มั่นคง ความพยายามของ Shinzo Abe ในการนำพาญี่ปุ่นออกจากวัฏจักรที่เสื่อมถอยด้วย Abenomics ซึ่งเน้นไปที่ภาคธุรกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ดำเนินควบคู่กับวาทกรรม Beautiful Japan ที่เป็นการสื่อสารกับสาธารณชนวงกว้าง โดยตลอดเวลาที่ผ่านมา Shizo Abe ได้ใช้วาทกรรมว่าด้วย Beautiful Japan ขึ้นมาหนุนนำและสร้างเสริมคะแนนนิยม ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้ว่าจะมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่ากรอบโครงความคิดและเบื้องหลังวาทกรรมที่ว่านี้จะยังไม่ปรากฏเป็นรูปธรรมที่สามารถให้อรรถาธิบายให้จับต้องและเห็นจริงได้ก็ตาม สิ่งที่ญี่ปุ่นเผชิญก็คือ แรงงานญี่ปุ่นซึ่งถูกฝังอยู่ในกระบวนการผลิตที่ล้าสมัยและไม่สามารถดำรงความสามารถในการแข่งขันถูกผลักให้ต้องออกจากงาน ไปสู่งานในอุตสาหกรรมภาคบริการ และกว่าร้อยละ 40 ของแรงงานญี่ปุ่นในปัจจุบันอยู่ภายใต้สถานะการจ้างแบบ

Read More