Home > AEC

“Wonderful Indonesia เปิดโลกมหัศจรรย์ อินโดนีเซีย สานสัมพันธ์อาเซียน ครั้งที่ 2”

อาเซียนร่วมมือเชื่อมเส้นทางท่องเที่ยว ด้านอินโดนีเซียเปิดฟรีวีซ่า 90 ประเทศพร้อมจัดงาน "Wonderful Indonesia เปิดโลกมหัศจรรย์ อินโดนีเซีย สานสัมพันธ์อาเซียนครั้งที่ 2" ฉลองครบรอบ 65 ปี สถาปนาความสัมพันธ์อินโด-ไทย เปิด AEC สร้างความร่วมมือในกลุ่มอาเซียนพร้อมเชื่อมเส้นทางการท่องเที่ยว ชูจุดขายด้านความหลากหลายทางศิลปวัฒนธรรมและภูมิประเทศ ล่าสุดอินโดนีเซียเปิดฟรีวีซ่าให้แก่ 90 ประเทศ พร้อมจัดงาน "Wonderful Indonesia เปิดโลกมหัศจรรย์อินโดนีเซีย สานสัมพันธ์อาเซียน ครั้งที่ 2" ฉลองครบรอบ

Read More

TOA ดันนวัตกรรมปลุกตลาดสี มุ่งเป้ารุกอาเซียนเพิ่มรายได้

 ตลาดสีทาบ้านเป็นอีกตลาดหนึ่งที่มีการแข่งขันกันอย่างอย่างรุนแรงและดุเดือด ท่ามกลางแรงซื้อในตลาดที่ค่อนข้างหดตัว จากภาวะหนี้สินครัวเรือนที่ขยับขึ้นสูง และสถานการณ์เศรษฐกิจที่ชะลอตัวและยังไม่มีสัญญาณบวก และทำให้บริษัทผู้ประกอบการต่างต้องเร่งส่งเสริมการขายช่วงท้ายปีอย่างหนักหน่วง TOA ดูจะเป็นตัวอย่างของกรณีดังกล่าวได้ดี และเริ่มกลยุทธ์การตลาดด้วยการส่งผลิตภัณฑ์ใหม่ ภายใต้ชื่อ TOA Note and Clean ที่เชื่อว่าจะเป็นนวัตกรรมที่นำตลาดสีให้เกิดความแปลกแตกต่างจากคู่แข่งขันรายอื่นๆ ไปมากทีเดียว ภายใต้สโลแกน “Note & Clean เขียนได้ ลบได้” ทีโอเอ ประเมินว่าผลิตภัณฑ์นี้จะเป็นนวัตกรรมใหม่ที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค และเป็นการสร้างสีให้เป็นมากกว่าสี ที่ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะประเด็นว่าด้วยความสวยงามหรือทนทานแบบเดิม แต่กำลังจะสร้างผนังทาสีที่ต่อเติมจินตนาการของผู้คนอีกด้วย “ไม่ว่าจะเป็นที่บ้าน ที่ทำงาน TOA Note and Clean กำลังสร้างให้เกิดพื้นที่เชื่อมโยงและเป็นพื้นที่สื่อสารของคนได้ TOA Note and Clean จะเป็นส่วนหนึ่งของเวทีแสดงความคิดและความสร้างสรรค์ เป็นประสบการณ์ beyond expectation” พงษ์เชิด จามีกรกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอเอ เพ้นท์ (ประเทศไทย) จำกัด ระบุ มุมมองของ TOA เชื่อว่า “ทีโอเอ

Read More

AEC 2015 หลักไมล์แห่งมิตรไมตรี

 การเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในอาเซียน สอดรับกับความพยายามที่จะผนึกอาเซียนให้ก้าวไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ที่มีหมุดหมายในการรวมเขตเศรษฐกิจในอาเซียนให้เป็นฐานการผลิตและตลาดเดียวกันในปี 2015 ภายใต้ข้อเท็จจริงว่าด้วยจำนวนประชากรที่มีมากกว่า 600 ล้านคนและมีผลประโยชน์ทางการค้า-เศรษฐกิจมูลค่ารวมมหาศาลอย่างยากที่จะประเมินออกมาเป็นเพียงตัวเลขสถิติ พลวัตที่งอกเงยมาจากสายสัมพันธ์ในมิตินามธรรมในอดีตนี้ กำลังก่อรูปและรังสรรค์ให้เกิดความเชื่อมโยงและพัฒนาการที่สามารถจับต้องได้อย่างเป็นรูปธรรมในอนาคต เป็นอนาคตที่กำลังจะเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ของอาเซียนให้เต็มเปี่ยมไปด้วยความมุ่งหวังถึงความจำเริญมั่งคั่งที่ยั่งยืนสถาพร แผนพัฒนาและคณะกรรมาธิการหลากหลายคณะ ได้รับการจัดตั้งและมอบหมายภารกิจเพื่อประกอบส่วนในการศึกษาและแสวงหาหนทางที่จะนำไปสู่การปฏิบัติเพื่อผนึกให้วิสัยทัศน์ในการเชื่อมโยงและสร้างให้เกิดอาเซียนหนึ่งเดียว ซึ่งนั่นย่อมมิได้หมายถึงความพยายามที่จะจัดวางและก่อสร้างเส้นทางคมนาคมเพื่อเชื่อมประสานการเดินทางสัญจรทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศเท่านั้น หากความเชื่อมประสานโยงใยของอาเซียนยังหมายรวมถึงมิติด้านกิจการพลังงาน มิติทางการศึกษา ประเด็นว่าด้วยกฎระเบียบทางการค้า ระบบภาษี-ศุลกากร การสร้างฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และความเชื่อมโยงระดับประชาชนต่อประชาชนอีกด้วย ความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันนี้ ได้ทำให้เส้นแบ่งของความเป็นขอบนอก ถูกกระชับให้เข้าใกล้กับศูนย์กลางมากขึ้นทุกขณะ และช่วยลดช่องห่างของระดับขั้นการพัฒนาและความแปลกแยกแตกต่างที่ดำรงอยู่ในอาเซียนให้หดแคบลง ก่อนที่สำนึกแห่งความเป็นหนึ่งเดียวกันเพื่อบรรลุสู่เป้าหมายของการรวมกลุ่มอาเซียนจะได้รับการสถาปนาให้เกิดขึ้นมาแทนที่ ถนนหลากหลายเส้นทางที่กำลังได้รับการยกระดับมาตรฐานให้สามารถรองรับการสัญจรสำหรับทั้งผู้คนและสินค้า ที่กำลังไหล่บ่าและท่วมทะลัก เป็นประจักษ์พยานถึงพลวัตการพัฒนาเพื่อเชื่อมโยงผู้คนในอาเซียนเข้าไว้ด้วยกัน ระบบโครงข่ายการคมนาคมทางบกไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะถนนสายหลักและสายรองที่กำลังถักทอประหนึ่ง ใยแมงมุม ที่แพร่กว้างไปทั่วภูมิภาคเท่านั้น หากยังมีเส้นทางรถไฟความเร็วสูงและทางรถไฟคู่ขนานที่กำลังจะได้รับการพัฒนาให้อยู่ภายใต้มาตรฐานเดียวกันทั้งระบบเพื่อให้การเชื่อมโยงผู้คนในภูมิภาคที่ไพบูลย์นี้ ดำเนินไปอย่างไร้รอยต่อและข้ามพ้นข้อจำกัดในระยะยาว เส้นทางถนนภายใต้กรอบของโครงข่ายทางหลวงอาเซียน (ASEAN Highway Network) ที่มีความยาวรวมเกือบ 4 หมื่นกิโลเมตร กระจายครอบคลุมพื้นที่เชื่อมต่ออาณาบริเวณของประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศเข้าไว้ด้วยกัน เป็นส่วนหนึ่งในรูปธรรมการพัฒนาเพื่อเชื่อมประสานโครงข่ายการสัญจรทางบก แม้จะมีเส้นทางบางส่วนยังไม่ได้รับการพัฒนาและมีสภาพเป็นจุดเชื่อมโยงที่ขาดวิ่น ด้วยเหตุผลของข้อจำกัดทางภูมิศาสตร์และสถานภาพด้านงบประมาณของประเทศสมาชิกอาเซียนบางประเทศอยู่บ้างก็ตาม โอกาสทางการค้า การหลั่งไหลของสินค้าและทรัพยากรทางการผลิตที่เคลื่อนผ่านเส้นทางหมายเลข 9 กำลังจุดประกายให้แผ่นดินที่เงียบสงบและหลบซ่อนอยู่ในชายขอบของประวัติศาสตร์อาเซียนถูกปลุกให้ตื่นขึ้น รับแสงอรุณแห่งความหวัง และอนาคตใหม่ที่กำลังจะเดินทางมาถึง ระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตกบนเส้นทางหมายเลข 9

Read More

รู้รักษ์ภาษาไทย ท่ามกลางภาษาอาเซียน

 “สวัสดี” ก้าวเข้าสู่ศักราชใหม่ด้วยคำทักทายอย่างเป็นทางการ อีกทั้งยังเป็นการเปิดประตูบ้านต้อนรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอย่างเต็มตัว ไม่ว่าจะพร้อมหรือไม่ก็ตาม การรวมตัวของ 10 ประเทศในอาเซียน แน่นอนว่า ย่อมต้องมีข้อตกลงที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศสมาชิก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของภูมิภาคอาเซียน อีกทั้งยังผลให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และเป็นการเพิ่มจุดแข็งของประเทศในภูมิภาคอาเซียนบนเวทีโลก กฎบัตรสำคัญที่ประเทศในอาเซียนได้ทำข้อตกลงกันไว้คือ ภาษาอาเซียน (ASEAN Language) ที่เหล่าประเทศสมาชิกมีมติร่วมกันว่าให้ภาษาอังกฤษทำหน้าที่เป็น “ภาษาราชการของอาเซียน” หมายถึงการดำเนินธุรกิจภายในภูมิภาคอาเซียนจะใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักในการติดต่อสื่อสาร ซึ่งข้อตกลงนี้นับเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง เมื่อประเทศในอาเซียนนั้นล้วนแล้วแต่มีภาษาแม่เป็นของตัวเอง และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว บรรดาประเทศสมาชิกอาเซียนมีเพียงไม่กี่ประเทศเท่านั้นที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ แม้แต่ประเทศบรูไน ที่มีภาษาบรูไนเป็นภาษาแม่ กระนั้นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศนี้ก็สามารถใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารได้เป็นอย่างดี เฉกเช่นเดียวกับประเทศไทยที่มีภาษาแม่ของตัวเอง แต่กลับใช้ภาษาอังกฤษเพื่อสื่อสารเฉพาะในแวดวงธุรกิจเท่านั้น ซึ่งนับเป็นเพียงคนกลุ่มน้อยเมื่อเทียบความสามารถด้านภาษาอังกฤษกับประเทศเพื่อนบ้าน สมเกียรติ อ่อนวิมล นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชน ได้ให้ความเห็นเรื่องภาษาอาเซียนสำหรับประเทศไทยไว้ว่า “ประชาชน นักเรียน นักศึกษา ต้องปรับตัวตั้งรับการแข่งขันในระดับประเทศ ต้องหาความรู้ ปรับปรุงเรื่องการสื่อสารของตนเอง คือต้องรู้ภาษาอังกฤษ และถ้าเป็นไปได้ควรรู้ภาษาที่ 3 ภาษาในอาเซียนอีกหนึ่งภาษา” ซึ่งนั่นอาจหมายความถึงเรื่องการปฏิรูปการศึกษาของไทยที่อาจจะเพิ่มความหวังใหม่ให้กับอนาคตของประเทศ แต่ดูจากห้วงเวลาปัจจุบันแล้วก็ยังห่างไกลจากความเป็นไปได้ การที่ประเทศไทยจะก้าวขึ้นมายืนแถวหน้าของภูมิภาคนี้อย่างเต็มภาคภูมินั้น ไทยยังต้องพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษซึ่งเรียกได้ว่าควรจะเป็นภาษาที่สอง ก่อนที่จะมองข้ามสเต็ปไปยังภาษาที่สาม แม้ในบางเรื่องประเทศไทยจะได้เปรียบหากเทียบกับสมาชิกอาเซียนด้วยกัน ทั้งในเรื่องระบบโลจิสติกส์ ความชำนาญการในวิชาชีพเฉพาะด้าน หากแต่การอ่อนด้อยด้านภาษาที่แม้แต่กับภาษาไทยเองยังไม่แตกฉานนัก  ภาษาเป็นทักษะอย่างหนึ่งที่ต้องอาศัยการฝึกฝนเพื่อสร้างความชำนาญ ซึ่งดูแล้วหากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังรณรงค์การใช้ภาษาไทยในชีวิตประจำให้ถูกต้องดูจะไม่ใช่เรื่องลำบากนัก แต่หากต้องรณรงค์เพิ่มพูนทักษะภาษาอังกฤษสำหรับคนไทย อาจต้องรณรงค์กันอย่างหนักพอสมควร

Read More

Dien Bien Phu รอยประทับแห่งสงคราม

 สมรภูมิรบเดียนเบียนฟู การเผชิญหน้าครั้งสำคัญในสงครามอินโดจีน ระหว่างกองทัพทหารฝรั่งเศสในฐานะเจ้าอาณานิคมกับกองทัพเวียดมินห์ของขบวนการกู้ชาติเวียดนาม ในฐานะผู้ดิ้นรนเพื่อให้หลุดพ้นจากการเป็นประเทศอาณานิคม สงครามที่ชาวเวียดนามภาคภูมิใจว่านำมาซึ่งเอกราชของชาติอย่างแท้จริง แต่เป็นสงครามที่ฝรั่งเศสเองไม่อยากจะจดจำ กาลเวลาผ่านมาแล้วหลายทศวรรษ วันนี้เราจะไปสัมผัสร่องรอยที่ยังหลงเหลืออยู่ของการสู้รบในครั้งนั้น เดียนเบียนฟู (Dien Bien Phu) คือเมืองหนึ่งในจังหวัดเดี่ยนเบียนตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศเวียดนาม ห่างจากกรุงฮานอยประมาณ 200 กิโลเมตร ทิศตะวันตกอยู่ใกล้กับชายแดนแขวงพงสาลีของประเทศลาว  เดียนเบียนฟูมีชื่อเสียงและเป็นที่จดจำเนื่องจากเป็นสมรภูมิรบอันโด่งดังระหว่างฝรั่งเศสกับกองกำลังเวียดมินห์ที่เกิดขึ้นในช่วงเดือนมีนาคม–พฤษภาคม ค.ศ.1954 ลงเอยด้วยความพ่ายแพ้ของฝรั่งเศสจนต้องถอนกำลังออกจากเวียดนามเหนือ และถือเป็นการสิ้นสุดลงของสงครามอินโดจีนครั้งแรก เราเดินทางมายังเมืองเดียนเบียนฟูผ่านทางประเทศลาว ลัดเลาะมาเรื่อยๆ จากเวียงจันทน์ เข้าโพนสะหวัน เชียงขวาง ต่อไปยังซำเหนือ เวียงไซย เมืองงอย ล่องเรือต่อไปยังเมืองขวา ก่อนที่จะนั่งรถข้ามชายแดนต่อมายังเมืองเดียนเบียนฟู เป็นเส้นทางที่ได้สัมผัสวิถีชีวิตและธรรมชาติที่ยังงดงามของลาว  บางช่วงบางตอนยังเป็นเส้นทางที่เกี่ยวโยงกับสงครามอินโดจีน อย่างแขวงเชียงขวางที่อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของลาวซึ่งถือเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญของประเทศ มีชายแดนติดกับเวียดนาม เป็นเส้นทางในการลำเลียงกองกำลังและอาวุธยุทโธปกรณ์จากเวียดนามเหนือมาสู่ขบวนการปะเทดลาว รวมถึง “ถ้ำท่านผู้นำ” ที่เมืองเวียงไซย อดีตศูนย์บัญชาการใหญ่ของกองทัพปลดปล่อยประเทศลาว ที่ในสมัยสงครามอินโดจีน ผู้นำขบวนการปลดปล่อยประเทศลาว ได้ใช้สถานที่แห่งนี้เป็นฐานที่มั่นและศูนย์บัญชาการใหญ่เพื่อต่อต้านการรุกรานจากต่างชาติ ที่ซึ่งสงครามยังคงทิ้งร่องรอยของมันไว้ให้เราเห็น และครั้งนี้เราจะไปที่เดียนเบียนฟู อีกหนึ่งจิ๊กซอว์สำคัญของภาพสงครามอินโดจีน จากเมืองขวาของลาวมีรถบัสนำเราไปสู่เดียนเบียนฟูของเวียดนามผ่านทางด่าน Tay Trung ใช้เวลาเดินทางประมาณ 5-6 ชั่วโมง เพราะเป็นทางขึ้นเขาถนนแคบ และอาจต้องเจอสภาพรถที่ผู้โดยสารและสิ่งของแน่นเอี๊ยดเต็มทุกพื้นที่ของรถ เพราะเป็นอีกหนึ่งเส้นทางที่ทั้งคนลาว คนเวียดนาม รวมถึงนักท่องเที่ยวนิยมใช้ในการเดินทางไปมาระหว่างลาวและเวียดนาม รถบัสขนาดเล็กที่อัดแน่นไปด้วยคนและข้าวของพาเราลัดเลาะไปตามความสูงของเทือกเขาเป็นเวลาหลายชั่วโมง

Read More

NEDA: เพื่อนบ้านมั่นคง เมืองไทยมั่งคั่ง

 พุทธศักราช 2558 ปีที่ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community) หรือ AEC มุ่งให้เกิดการรวมตัวทางเศรษฐกิจและการอำนวยความสะดวกในการติดต่อค้าขายระหว่างกัน อันจะทำให้ประเทศในภูมิภาคนี้มีความเจริญมั่งคั่ง และสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่นๆ ได้เพื่อความอยู่ดี กินดีของประชาชนในประเทศอาเซียน ซึ่งประเทศในกลุ่มอาเซียนที่เหลืออีก 9 ประเทศได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ บรูไนดารุสซาลาม เวียดนาม พม่า ลาว และกัมพูชา  สำหรับประเทศไทยในฐานะที่เป็นผู้นำในการก่อตั้งสมาคมอาเซียน มีศักยภาพในการเป็นแกนนำในการสร้างประชาคมอาเซียนให้เข้มแข็ง จึงต้องเตรียมความพร้อมเพื่อการก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน โดยมุ่งเน้นเรื่องการศึกษา ซึ่งจัดอยู่ในประชาคมสังคมและวัฒนธรรม ที่จะส่งเสริมให้ประชาคมด้านอื่นๆ มีความเข้มแข็ง เพราะการศึกษานับเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาในด้านอื่นๆ  สำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) (สพพ.) หรือ Neighbouring Countries Economic Development Cooperation Agency (Public Organization-NEDA) ขึ้นตรงต่อกระทรวงการคลัง มีภารกิจในการให้ความช่วยเหลือด้านการเงินและวิชาการแก่ประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งเพื่อสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ร่วมกันระหว่างไทยและเพื่อนบ้าน  บทบาทของ NEDA ดูเหมือนจะสอดคล้องต่อความมุ่งหมายของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยล่าสุดไทยให้ความช่วยเหลือด้านเงินกู้เงื่อนไขผ่อนปรน

Read More

Southern Coastal Corridor เส้นทางติดปีกสีหนุวิลล์

 หลังจากทำพิธีด่านศุลกากรและประทับตรวจลงตรา ลงบนหนังสือเดินทางที่จุดผ่านแดนถาวรบ้านหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด ก้าวแรกที่เหยียบผืนดินจังหวัดเกาะกงของกัมพูชา เมืองที่ใครๆ มองว่า เป็นเมืองที่เต็มไปด้วยบ่อนกาสิโนสำหรับนักเสี่ยงโชค  วิถีชีวิตผู้คนของทั้งสองประเทศบริเวณจุดผ่านแดนถาวรที่เราสามารถเห็นได้จนชินตา ไม่ว่าจะการเดินทางไปมาหาสู่กันเสมือนญาติมิตร หรือสัมมาอาชีพที่เน้นหนักไปทางค้าขาย จึงทำให้เราเห็นแรงงานเขมรหรือแรงงานไทยเข็นรถบรรทุกสินค้าข้ามแดนกันไปมาตลอดเวลากระทั่งด่านปิด ซึ่งรถเข็นเหล่านั้นบรรจุสินค้าอุปโภคบริโภค ผัก ผลไม้จากฝั่งไทยซึ่งดูจะได้รับความนิยมในหมู่ชาวกัมพูชา  เสียงตะโกนสั่งงานลูกจ้างของเถ้าแก่มีทั้งภาษาพื้นถิ่นอย่างเขมร ขณะเดียวกันก็ได้ยินเสียงเอื้อนเอ่ยภาษาไทยในบางช่วงเวลา ประชาชนทั้งสองจังหวัดชายแดนบางส่วนสามารถสื่อสารได้ 2 ภาษา ทั้งภาษาไทยและภาษาเขมร หากชาวเกาะกงพูดภาษาไทยได้ดูจะไม่ใช่เรื่องแปลก นั่นเพราะ ไทยและเขมรมีประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกันมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4-5 กระทั่งสยามได้ลงนามในอนุสัญญาฝรั่งเศสสยาม เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 1904 ซึ่งทำให้ไทยต้องเสียเกาะกง หรือ ปัจจันตคีรีเขตร์ ในสมัยนั้นให้แก่กัมพูชา ซึ่งถูกปกครองด้วยประเทศฝรั่งเศส ซึ่งชาวสยามที่อยู่บนเกาะกงบางส่วนไม่ได้ย้ายกลับมายังแผ่นดินเกิด จึงมีชื่อเรียกเฉพาะ ผู้ที่สืบเชื้อสายไทยที่อาศัยอยู่ในเกาะกงว่า “ไทย-เกาะกง”  สองข้างทางบริเวณทางเข้าเกาะกง บนถนนสาย 48 ส่วนหนึ่งของเส้นทาง R10 (Southern Coastal Corridor) วิถีชีวิตที่ค่อนข้างจะแปลกตาสำหรับชาวสยามอย่างเรา คือ บรรดาพ่อค้าแม่ขายที่กำลังลำเลียงผลไม้ที่ขนข้ามมาจากฝั่งไทย จัดวางบนรถตู้ซึ่งภายในรถถูกปรับแต่งโดยการนำเบาะโดยสารรถออกเพื่อเพิ่มพื้นที่สำหรับบรรทุกสินค้าอย่างพืชผักผลไม้ หรืออะไรก็ตามที่สามารถขนใส่ภายในรถตู้ได้ ส่วนเหตุผลที่พ่อค้าแม่ค้าชาวเขมรนิยมใช้รถตู้มากกว่าจะเป็นรถกระบะอย่างบ้านเรา

Read More

สำรวจเครือข่าย รพ.ไทย ในอาเซียน ก่อนเปิดประตูสู่ AEC

 ไม่เพียงธุรกิจค้าปลีก หรือธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ที่สยายปีกออกสู่ต่างจังหวัด โดยเฉพาะในเมืองที่เป็น “หน้าด่านการค้า” สำคัญ เพื่อเตรียมรับกับกระแสการเปิดประชาคมอาเซียนในอีกไม่ถึง 3 ปี โรงพยาบาลเอกชนนับเป็นอีกธุรกิจที่เดินเครื่องมุ่งหน้าปักหมุดในหัวเมืองสำคัญตามแนวชายแดนอย่างคึกคัก รวมถึงความพยายามที่จะรุกเข้าไปปักธงในเมืองสำคัญของประเทศเพื่อนบ้านเพื่อรอรับโอกาสทองจากเออีซีที่ใกล้เข้ามาเรื่อยๆ ในบรรดา รพ. เอกชนไทย การเคลื่อนทัพของเครือ รพ. กรุงเทพ ดูจะร้อนแรงและน่าจับตาเป็นที่สุด ทั้งนี้เพราะวิสัยทัศน์ของ “กรุงเทพดุสิตเวชการ” หรือ BGH คือการเป็น “พี่ใหญ่” ในกลุ่มประเทศ CLMV (กัมพูชา-ลาว-พม่า-เวียดนาม) โดยมีเป้าหมายสำคัญเพื่อรุกเข้าสู่ตลาดจีนในอนาคต “นี่คือเหตุผลว่าทำไมเราต้องรุกเปิด รพ. ทางตอนเหนือ เพราะถ้าเรานำสาขาเข้าไปใกล้กับพม่าและลาวได้ก็จะใกล้กับจีนได้มากขึ้น” คำอธิบายจาก นพ.ชาตรี ดวงเนตร ประธานคณะผู้บริหารศูนย์การแพทย์ รพ.กรุงเทพ หลังการควบรวมครั้งใหญ่ระหว่างเครือ รพ.กรุงเทพ กับเครือ รพ. พญาไท และเปาโลเมโมเรียล เมื่อวันที่ 1เม.ย. 2554 ส่งผลให้มี รพ. ในเครือถึง 27 แห่ง โดยมี

Read More

สยามอินเตอร์ ก้าวที่กล้าในสมรภูมิ AEC

 ความพยายามรุกคืบเข้าครอบครองตลาดเครื่องดื่มในประเทศเพื่อนบ้าน AEC โดยผู้ประกอบการไทยยังดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ทั้งในรูปของการขยับตัวรุกเข้าทำตลาดโดยบริษัทซึ่งเป็นเจ้าของแบรนด์เอง หรือแม้กระทั่งการส่งเสริมการขายที่เกิดขึ้นจากผู้แทนจำหน่ายในพื้นที่ ปรากฏการณ์ที่น่าสนใจติดตามล่าสุดอยู่ที่การรุกเข้าทำตลาดอย่างกว้างขวางของ บริษัท สยามอินเตอร์ ลาว จำกัด ที่ร่วมกับ บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ด้วยการส่งหน่วยขายเคลื่อนที่เพื่อส่งเสริมการขายครั้งใหญ่ในตลาด สปป.ลาว ภายใต้กิจกรรม “ฝาโออิชิ ลุ้นรวยทันใจ” ที่พร้อมเข้าถึงทุกจังหวัดในสปป.ลาวเลยทีเดียว สุพิชชา รามสูต ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สยามอินเตอร์ ลาว จำกัด ผู้แทนจำหน่ายชาเขียวพร้อมดื่มโออิชิ กรีนที ใน สปป.ลาว ระบุว่า สยามอินเตอร์ลาวมีเครือข่ายการกระจายสินค้าที่ทรงประสิทธิภาพครอบคลุมในทุกจังหวัดของ สปป.ลาว ทำให้พี่น้องชาวลาวทุกคนมั่นใจได้ว่าจะมีสิทธ์ลุ้นรวยทันใจ แลกรับรางวัลได้สะดวกทุกช่องทาง พร้อมๆ กับการดื่มความสดชื่นจากชาเขียวโออิชิ กรีนที ตลอดระยะเวลาการจัดกิจกรรมนี้อย่างแน่นอน กิจกรรมดังกล่าวในด้านหนึ่งเป็นความต่อเนื่องจากกิจกรรม “ลุ้นฝารวยทันใจ” ของโออิชิ ในประเทศไทย และเป็นการปูพรมเพื่อรักษาฐานลูกค้าใน สปป.ลาว ที่โออิชิได้เริ่มสร้างและวางตลาดไว้มานานกว่า 1 ทศวรรษ ซึ่งแม้ว่ากิจกรรมของสยามอินเตอร์ลาวในครั้งนี้จะมีรูปแบบเป็นหน่วยเคลื่อนที่ ที่เปิดบูธอยู่ในงานวัดหรือแหล่งชุมนุมชน

Read More

เบทาโกรขยายฐาน เคลื่อนเข้าเขมร รับ AEC

แนวโน้มการลงทุนเพื่อรองรับประชาคมอาเซียนดำเนินไปอย่างคึกคัก ล่าสุด เบทาโกร ผู้ประกอบการอาหารรายใหญ่จากไทย ขยายฐานรุกเข้าสู่กัมพูชาเพิ่ม หวังเปิดตลาดอาหารแปรรูปครบวงจร รองรับการบริโภคของ AEC จังหวะก้าวของเบทาโกรในการขยายฐานรองรับการเติบโตของ AEC ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่การเข้าไปลงทุนในกัมพูชา ด้วยการเปิดบริษัท เบทาโกร แคมโบเดีย Betagro (Cambodia ) Company Limited เพื่อดำเนินธุรกิจจำหน่าย อาหารสัตว์ ธุรกิจฟาร์มสุกรพันธุ์ รวมทั้งจำหน่ายเวชภัณฑ์สำหรับสัตว์ และผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์ ในราชอาณาจักรกัมพูชามาตั้งแต่ปี2551 แต่ดูเหมือนว่ายุทธศาสตร์การขยายตัวของเบทาโกรไม่ได้จำกัดอยู่เพียงเท่านั้น เพราะล่าสุด เบทาโกรได้ทุ่มงบประมาณจำนวน 700 ล้านบาท เพื่อสร้างโรงงานอาหารสัตว์ ณ นิคมอุตสาหกรรมพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ด้วยกำลังการผลิต 18,000 ตันต่อเดือน โดยจะเริ่มดำเนินการสร้างภายในเดือนพฤษภาคม 2556 และคาดว่าจะเสร็จภายในปี 2557 “เบทาโกรมียอดจำหน่ายอาหารสัตว์ที่ประเทศกัมพูชา 3,600 ตันต่อเดือน ภายใต้ชื่อแบรนด์เบทาโกร เพิ่มพูน และไบโอ ซึ่งการสร้างโรงงานอาหารสัตว์แห่งนี้จะช่วยให้การขนส่งอาหารสัตว์ไปสู่ประเทศกัมพูชาได้ง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้น ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการขนส่งอาหารสัตว์ ซึ่งเพิ่มความสามารถแข่งขันในด้านราคาให้กับบริษัทฯ” ณรงค์ชัย ศรีสันติแสง  รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส เครือเบทาโกร

Read More