Home > Alcohol

สงครามเบียร์สะดุด “ช้าง-สิงห์” พลิกแผนปลุกตลาด

ในที่สุด เกมเปิดแนวรบสงครามเบียร์เจาะช่องทางคอนวีเนียนสโตร์ของ 2 ยักษ์ใหญ่ “ช้าง-สิงห์” เป็นอันต้องล่มไป เมื่อเจอกระแสต่อต้านอย่างหนัก ทั้งบิ๊กกระทรวงสาธารณสุขและกลุ่มองค์กรเอกชนที่ยกพลเครือข่ายบุกยื่นหนังสือคัดค้านกลยุทธ์ “เครื่องกดเบียร์สด” ในร้านสะดวกซื้อ ล่าสุด ที่ประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ. ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 ยังมีมติเมื่อวันที่ 10 ตุลาคมที่ผ่านมา ยืนยันว่า การขายเบียร์สดผ่านเครื่องกดอัตโนมัติในร้านสะดวกซื้อเข้าข่ายเป็นการขายโดยวิธีต้องห้ามขายตามมาตรา 30 (1) พ.ร.บ. ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ฯ ซึ่งระบุว่าห้ามมิให้ผู้ใดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยวิธีการหรือในลักษณะใช้เครื่องขายอัตโนมัติ นอกจากนี้ ยังเข้าข่ายความผิดตามมาตรา 32 เรื่องการห้ามโฆษณา เนื่องจากที่ตู้กดปรากฏยี่ห้อและสัญลักษณ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งหลังจากนี้จะส่งเรื่องให้สำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป แม้ทั้งบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) เจ้าของเครือข่ายร้านเซเว่นอีเลฟเว่น และบริษัท เซ็นทรัล แฟมิลิมี่มาร์ท จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจร้านแฟมิลี่มาร์ท ประกาศยกเลิกการจำหน่ายเบียร์สดแล้ว หลายฝ่ายระบุว่า รูปแบบการจำหน่ายเบียร์สดในร้านคอนวีเนียนสโตร์ครั้งนี้ ไทยถือเป็นประเทศแรกที่เปิดกลยุทธ์เพื่อขยายช่องทางการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายง่ายขึ้นและมากขึ้น เนื่องจากตลาดเบียร์ช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมาซบเซา อัตราเติบโตแค่ 3% ซึ่งทำให้ค่ายเบียร์ทุกแบรนด์พยายามหาแผนเจาะกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ โดยดึง

Read More

จาก “แม่โขง” ถึง “รวงข้าว” ไทยเบฟฯ แก้เกมรุกธุรกิจเหล้า

แม้ “ไทยเบฟเวอเรจ” เดินหน้าขยายพอร์ตธุรกิจนอนแอลกอฮอล์อย่างต่อเนื่อง แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า รายได้หลักของกลุ่มยังมาจากธุรกิจสุรามากกว่า 55% ตามด้วยธุรกิจเบียร์ 32% ขณะที่ธุรกิจกลุ่มเครื่องดื่มนอนแอลกอฮอล์บวกธุรกิจอาหารมีสัดส่วนเพียง 13% หรือคิดจากรายได้รวม 9 เดือนในปีบัญชี 2560 (ต.ค.2559-มิ.ย.2560) 142,460 ล้านบาท มาจากธุรกิจสุราเกือบ 79,000 ล้านบาท ขณะที่ธุรกิจสุราเมื่อปี 2559 ตั้งแต่เดือนมกราคม-กันยายน มีรายได้จากการขาย 76,649 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าที่ 112 ล้านบาท โดยมีปริมาณขายเพิ่มขึ้น 2.3% เป็น 416.8 ล้านลิตร แต่กำไรสุทธิรวม 14,548 ล้านบาท ไม่เติบโต เนื่องจากกําลังซื้อของผู้บริโภคยังไม่ปรับตัวดีขึ้น และผู้บริโภคบางส่วนปรับเปลี่ยนไปบริโภคสุราขาว ซึ่งมีราคาขายและกําไรต่อขวดน้อยกว่าสุราสี แม้มีปริมาณขายเติบโตขึ้นก็ตาม นั่นเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้กลุ่มธุรกิจสุราพลิกหากลยุทธ์เพิ่มอัตรากำไร โดยเฉพาะในกลุ่มเหล้าขาวที่ไทยเบฟฯ ยึดครองตลาดทั้งหมด จากเม็ดเงินในตลาดสุราของประเทศไทยที่มีมูลค่ารวมกันมากกว่า 1.7 แสนล้านบาท แบ่งเป็นตลาดเหล้าขาวมูลค่ากว่า 80,000 ล้านบาท และกลุ่มเหล้าสีอีกประมาณ

Read More

อวสานลานเบียร์? หรือปฐมบทการชิงพื้นที่?

 ข่าวความเป็นไปว่าด้วยกรณีนายแพทย์สมาน ฟูตระกูล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ออกมาระบุว่า การที่ผู้ประกอบการธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่างจัดกิจกรรมกระตุ้นตลาดในช่วงปลายปีกันอย่างเต็มที่ ทั้งการจัดกิจกรรมลานเบียร์ การนำกลยุทธ์มิวสิกมาร์เก็ตติ้งเข้ามาใช้  ทั้งในรูปแบบของการเป็นสปอนเซอร์ จัดคอนเสิร์ต มิวสิกเฟสติวัล พร้อมตั้งข้อสังเกตว่า กิจกรรมเหล่านี้เข้าข่ายการกระทำผิด ตามมาตรา 32 ของพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 และอยู่ระหว่างหาแนวทางการดำเนินการด้านคดี ได้ก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ และนำไปสู่ข้อถกแถลงในวงกว้าง สอดรับกับช่วงเทศกาลลานเบียร์ที่เริ่มขึ้นตั้งแต่ช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ทั้งนี้ ภายใต้บทบัญญัติในมาตรา 32 ของ พ.ร.บ. ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ระบุว่าห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือแสดงชื่อหรือเครื่องหมายของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อันเป็นการอวดอ้างสรรพคุณหรือชักจูงใจให้ผู้อื่นดื่มโดยตรงหรือโดยอ้อม การโฆษณาหรือประชาสัมพันธ์ใดๆ โดยผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกประเภทให้กระทำได้เฉพาะการให้ข้อมูลข่าวสาร และความรู้เชิงสร้างสรรค์สังคม โดยไม่ปรากฏภาพของสินค้าหรือบรรจุภัณฑ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้น เว้นแต่เป็นการปรากฏของภาพสัญลักษณ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือสัญลักษณ์ของบริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้นเท่านั้น ทั้งนี้ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง บทบัญญัติในวรรคหนึ่งและวรรคสอง มิให้ใช้บังคับกับการโฆษณาที่มีต้นกำเนิดนอกราชอาณาจักร ขณะเดียวกัน กิจกรรมการตลาดหลายกิจกรรมในกลุ่มธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยังอาจเข้าข่ายความผิดในส่วนของมาตรา 30 ที่ห้ามมิให้ผู้ใดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยวิธีการหรือในลักษณะดังต่อไปนี้ ไม่ว่าจะเป็นการใช้เครื่องขายอัตโนมัติ การเร่ขาย การลดราคาเพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมการขาย หรือเสนอให้สิทธิในการเข้าชมการแข่งขัน การแสดง การให้บริการ

Read More

ดัน “แสงโสม-หงส์ทอง” ขยายฐานปลุก “นิวดริงเกอร์”

 แม้บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ชูธงเร่งบุกธุรกิจนอนแอลกอฮอล์ แต่รายได้กว่า 160,000 ล้านบาท ยังมาจากกลุ่มธุรกิจเหล้าเกือบ 60% มีแบรนด์เหล้าในเครือมากกว่าร้อยตัว ถือเป็นเจ้าตลาดที่ยึดครองส่วนแบ่งเกือบทั้งหมดในตลาดเหล้าขาวและเหล้าสี โดยเฉพาะตลาดเหล้าสีที่มีการแข่งขันสูงและมีเม็ดเงินสะพัดมากกว่า 60,000 ล้านบาท ค่ายไทยเบฟฯ ฮุบแชร์ไว้ในมือถึง 90% คือ หงส์ทอง 50% เบลนด์ 285 อยู่ที่ 30% แสงโสม 10%   ส่วน “แม่โขง” หายไปจากตลาดนานหลายปี และเพิ่งกลับมาสร้างแบรนด์ มีส่วนแบ่งไม่ถึง 5% ทั้งนี้ ตามยุทธศาสตร์ 3-5 ปี ฐาปน สิริวัฒนภักดี ซึ่งรับช่วงต่อบริหารธุรกิจเครื่องดื่มทั้งหมดของครอบครัว ต้องการยกระดับแบรนด์เหล้าสีทั้ง 4 ตัวให้พรีเมียมมากขึ้น และสร้างภาพลักษณ์ชัดเจนมากขึ้น เพื่อเพิ่มมูลค่า แบ่งกลุ่มเซกเมนต์และขยายฐาน เนื่องจากพฤติกรรมนักดื่มไทยมีรสนิยมสูงขึ้น มีความถี่ในการเลี้ยงสังสรรค์มากขึ้น และสามารถดื่มได้ทุกโอกาส วรรัตย์ จรูญสมิทธิ์ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด

Read More

ตำนานเหล้าไทย “House of Mekhong”

 ตามข้อมูลประวัติศาสตร์ โรงงานสุราบางยี่ขันแห่งแรก ณ ปากคลองบางยี่ขัน ริมแม่น้ำเจ้าพระยา เดินเครื่องจักรผลิตเหล้าตั้งแต่ครั้งเริ่มสร้างกรุงเทพมหานคร ในสมัยนั้นถือเป็นสมบัติของนายอากร ซึ่งได้รับอนุญาตจากรัฐบาลให้ผูกขาดผลิตสุราขาวหรือ “เหล้าโรง” ออกจำหน่ายในกรุงเทพมหานคร           การผลิตดำเนินเรื่อยมาจนถึงยุคประเทศไทยเรียกร้องดินแดนคืนจากฝรั่งเศส เกิดกรณีพิพาทกัน  หลวงวิจิตรวาทการได้ประพันธ์เพลงปลุกใจคนไทยให้รักชาติและกล้าเข้าสู่สมรภูมิ ชื่อว่า “ข้ามโขงไปสู่แคว้นแดนไทย” และ “โขงสองฝั่งเหมือนฝั่งเดียวกัน” กรมสรรพสามิตจึงตั้งชื่อสุราปรุงพิเศษ 35 ดีกรี ที่ผลิตขึ้นใหม่ในปี 2484 ว่า “แม่โขง” นับตั้งแต่นั้นมา           ต่อมา โรงงานบางยี่ขันเปลี่ยนผ่านสังกัดจากกระทรวงการคลังมาขึ้นอยู่กับกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม และเข้าสู่ยุคที่รัฐบาลเปิดให้เอกชนประมูลเช่าโรงงาน เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตเมื่อปี 2503           ผู้เช่ารายแรกคือ บริษัท สุรามหาคุณ จำกัด โดยจ่ายอัตราค่าเช่าปีละ 41 ล้านบาท และได้รับการต่อสัญญาอีก 10 ปี ตั้งแต่ปี 2513 อัตราค่าเช่าปีละ 55 ล้านบาทบวกส่วนแบ่งผลกำไรสุทธิอีกร้อยละ 25           สำหรับโรงงานสุราบางยี่ขัน 2 เกิดขึ้นในช่วงสิ้นสุดสัมปทานปี

Read More

“แม่โขง” ปรับกลยุทธ์ บุกทุกช่องทางแจ้งเกิด

 หลังจากประกาศเปิดตัว “แม่โขง” ภาพลักษณ์ใหม่ เมื่อกลางปีที่แล้ว โดยเน้นขยายตลาดต่างประเทศกลุ่มยุโรปและอเมริกาได้ระยะหนึ่ง ปี 2556 บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) เตรียมกลยุทธ์ชุดใหญ่ เพื่อหันกลับมาเจาะกลุ่มนักดื่มชาวไทย  โดยเฉพาะความพยายามแจ้งเกิดแบรนด์ “แม่โขง” ในฐานะเหล้าไทยระดับพรีเมียมชนเหล้านอกทุกยี่ห้อ ตามแผนเป็นกลยุทธ์ต่อเนื่อง ซึ่งมีทั้งการสร้างภาพลักษณ์ใหม่ (Repositioning) ตอบสนองไลฟ์สไตล์ระดับเวิลด์คลาส เพื่อจับกลุ่มเป้าหมายนักดื่มทั้งหญิงและชายอายุ 25-35 ปี ระดับรายได้กลุ่ม A จากเดิมเป็นกลุ่มลูกค้ากว้างมาก ผู้ชายตั้งแต่วัยหนุ่มไปจนถึงผู้ใหญ่อายุ 50-70 ปี  ไม่จำกัดรายได้ การชูแพ็กเกจจิ้งใหม่ ตั้งแต่รูปแบบขวด ฝา การออกแบบฉลากและใช้ตัวหนังสือภาษาอังกฤษ เพื่อให้แบรนด์สื่อสารกับคนทั่วโลก เพิ่มช่องทางการจำหน่ายในโรงแรมห้าดาว และซูเปอร์มาร์เก็ตระดับไฮเอนด์ เช่น กูร์เมต์มาร์เก็ต วิลล่าซูเปอร์มาร์เก็ต และร้านดิวตี้ฟรี การเปลี่ยนรูปแบบนำเสนอสู่กลุ่มเป้าหมาย (Representing) ผ่าน “แม่โขง ค็อกเทล” ที่ปัจจุบันมีแล้ว 10 สูตร โปรโมตที่โรงแรมระดับห้าดาว การเปิดแอพพลิเคชั่นแม่โขงค็อกเทล สำหรับไอแพดและไอโฟนตามไลฟ์สไตล์ของกลุ่มเป้าหมาย มีค็อกเทลที่เป็นเอกลักษณ์ของประเทศไทย “Thai

Read More

ฐาปน สิริวัฒนภักดี “แม่โขง” เจเนอเรชั่นใหม่

“ช่วงเวลา 10 ปี เป็นช่วงที่ได้ความรู้มากมาย เปลี่ยนจากวัยเรียนเป็นวัยทำงาน ความคิดต่างๆ เหมือนเรียนจบแล้วไปสมัครงานบริษัท มีเลิร์นนิ่งเคิร์ฟ เป็นช่วงเวลาแห่งการเรียนรู้ ปรับตัวรับสิ่งใหม่ๆ ซึ่ง 10 ปีที่ผ่านมา มองย้อนกลับไป ผมสนุกกับการทำงาน ผ่านเรื่องราวมาพอสมควร ได้ทำงานใกล้ชิดกับคุณพ่อ ใกล้ชิดกับผู้บริหารอาวุโสหลายท่านร่วมทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่กับคุณพ่อจนมาถึงผู้บริหารยุคใหม่ที่ผมมีโอกาสเชิญชวนได้ทำงานร่วมกัน ได้โอกาสเรียนรู้มากมาย เป็นคุณค่าของชีวิตของผมในช่วง 10 ปี" ฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ให้สัมภาษณ์กับ ผู้จัดการ 360 ํ ด้วยบุคลิกอ่อนน้อม สุภาพ ซึ่งได้รับถ่ายทอด “ยีน” จากเจริญ สิริวัฒนภักดี แบบ 100% วันนี้ฐาปนกลายเป็นนักธุรกิจหนุ่มวัยไม่ถึงสี่สิบที่มีภาระบริหารบริษัทในเครือมากที่สุดถึง 106 บริษัท ดูแล 4 กลุ่มธุรกิจหลักคือ กลุ่มธุรกิจสุรา ทั้งสุราขาว สุราผสม

Read More